มาตรฐานคุณภาพการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ผ่องศรี กันทะลึก
ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับคุณภาพมาตรฐานการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินการให้บริการของผู้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานคุณภาพการบริการ 3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค ด้านบุคลากร ด้านอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านอื่นๆ ในการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ 4) สำรวจหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากปัจจัยด้านต่างๆ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 88 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้วิธีของเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพมาตรฐานการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวม มีคุณภาพมาตรฐานค่อนข้างสูง ( = 3.07) 2) ปัจจัยด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก มีความสัมพันธ์ระดับค่อนข้างสูง (r = 0.628) ปัจจัยด้านบุคลากร ด้านช่องทางการติดต่อสื่อสารและระบบสารสนเทศ และ ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพมาตรฐานการให้บริการในระดับปานกลาง ค่า r=0.425, r= 0.415 และ r= 0.532 ตามลำดับ ปัจจัยด้านอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และด้านผลผลิตและบริการ มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพมาตรฐานการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ระดับค่อนข้างต่ำ ค่า r = 0.302 และ r = 0.393 ตามลำดับ 3) ปัญหาและอุปสรรคที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพบมากที่สุดจากประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา คือ อัตรากำลังของบุคลากรที่ไม่เพียงพอ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่คาดหวังให้มีการดำเนินการมากที่สุด คือ การจัดหาอัตรากำลังเพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการ

Article Details

How to Cite
กันทะลึก ผ., & ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ศ. (2023). มาตรฐานคุณภาพการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 323–342. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/262417
บท
บทความวิจัย

References

นรภัทร เขตต์วัฒน์. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล วังสรรพรส อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏบูรพา.

พัชรินทร์ สาตราคม. (2557). คุณภาพการให้บริการและความคาดหวังของผู้ประกันตนที่มีต่อสำนักงานประกันสังคม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 5 (2), 68-69.

พูนทรัพย์ ราชวังเมือง. (2559). ปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลวในการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของกรุงเทพมหานคร: กรณีศูนย์รับแจ้งทุกข์ 1555. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรษมา เบนนอ. (2561). คุณภาพการให้บริการในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรมที่ดิน : กรณีศึกษาสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขามีนบุรี. บทความจากการค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัชราภรณ์ อารีรัตนศักดิ์. (2563). การจัดการคุณภาพการบริการ. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วิจิตต์ เอี่ยมสมบูรณ์. (2559). การพัฒนาการให้บริการภาครัฐ กรณีศึกษา : ศูนย์ประสานการบริหารด้านการลงลงทุน. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมถวิล วิจิตรวรรณา. (2565). สถิติความสัมพันธ์ : เลือกใช้อย่างไร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 8 (2), 1-15.

สำนักงานประกันสังคม (2565) . แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานประกันสังคมระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ฉบับทบทวน ปี 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.sso.go. th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/1fb894ce67e5a9dd0abddf388e225e85.pdf.

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่. (2565). ข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2565. เชียงใหม่: สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่.

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่. (2565). ข้อมูลสถิติการกดรับคิว เพื่อรับบริการ ณ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่.