แนวทางการบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศฯ และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ฯ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนี PNI modified
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการควบคุม ด้านการวางแผน และด้านการนำ ตามลำดับ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการวางแผน ด้านการควบคุม และด้านการนำ ตามลำดับ
2. แนวทางการบริหารการนิเทศภายในฯ ประกอบด้วย 12 แนวทาง ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูร่วมกันวางแผนการนิเทศภายใน โดยสำรวจความต้องการและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนในปีที่ผ่านมา กำหนดเป้าหมาย/จุดประสงค์และผลลัพธ์ของการนิเทศภายใน/จัดทำแผนการนิเทศภายในโดยกำหนดกิจกรรมสำหรับการนิเทศภายใน เครื่องมือการนิเทศภายใน และปฎิทินการนิเทศภายใน 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูร่วมกันกำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาจัดประชุม อบรม ชี้แจงให้ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์และผลลัพธ์ของการนิเทศภายใน กิจกรรมสำหรับการนิเทศภายใน เครื่องมือการนิเทศภายใน และปฎิทินการนิเทศภายใน 4) ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องกับการนิเทศภายในเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามหลักการประชาธิปไตย 5) ผู้บริหารสถานศึกษาจัดอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการปฏิบัติการนิเทศภายในรวมทั้งสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ 6) ผู้บริหารสถานศึกษาอำนวยความสะดวกการจัดกิจกรรมให้เอื้อต่อการนิเทศภายในให้ดำเนินงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 7) ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินการนิเทศภายในให้บรรลุวัตถุประสงค์และประสบผลสำเร็จ 8) ผู้บริหารสถานศึกษาให้รางวัลสำหรับแก่คณะกรรมการนิเทศภายในและผู้รับการนิเทศภายในที่มีผลการปฏิบัติงานดีเยี่ยมเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ 9) ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้คณะกรรมการนิเทศภายในคณะกรรมการนิเทศภายในได้รับการพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติด้านการนิเทศภายในเป็นเลิศ (Best Practice) การฝึกอบรม เป็นต้น 10) ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการปฏิบัติการนิเทศภายในเพื่อให้ได้สารสนเทศไปใช้ประกอบการดำเนินการนิเทศภายใน 11) สถานศึกษามีการรายงานสรุปผลการนิเทศภายในต่อผู้บริหารสถานศึกษา 12) สถานศึกษานำรายงานสรุปผลการนิเทศภายในเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร.
กฤษฎา ตันเปาว์. (2564). การจัดการสมัยใหม่ POLC ด้วยสังคหวัตถุ 4. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: http://www.thaiall.com/web2/key.php?topic=kritsada_fb&id=28.
เจนจิรา ชัยปาน และคณะ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตร สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล ชั้นปีที่ 4. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต. คณะศิลปศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ชวลิต จันทร์ศรี. (2556). การนิเทศภายในโรงเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: http://supervisorteacher.blogspot.com/2013/07/blog-post_4.html.
ทองคำ อำไพ. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์. (2563). รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 15 (2), 302-314.
ณัฐพร วัตถุ. (2560). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพิ่มพูน ร่มศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผล สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วรพล ดิลกทวีวัฒนา. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
รัชนี สุวรรณเกษร. (2550). องค์ประกอบของการนิเทศภายในสถานศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/192681.
รัตติยา มะโน. (2561). แนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
โรงเรียนวัดมหาวนาราม. (2564). คู่มือการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดมหาวนาราม. พิษณุโลก : โรงเรียนวัดมหาวนาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1.
ภัณฑิรา สุปการ. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการการนิเทศการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษาหลักการทฤษฎีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มิตรสยาม.
สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555). การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาค กับ อนาคตของไทยในอาเซียน. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.dla.go.th/upload/ebook/ column/2013/5/2060_5264.pdf.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. (2562). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา. ลำปาง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2545). บันทึกไว้ในแผ่นดิน บทสรุปการนิเทศ ศน.สศ.กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร. บริษัท จามจุรีโปรดักส์ จำกัด.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 –2580 (ฉบับย่อ). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://infocenter.nationalhealth. or.th/Ebook/NationalStrategy/book.html.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ คะลีล้วน. (2557). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุภัจฉรา กาใจ. (2562). แนวทางการบริหารปัจจัยที่ส่งผลต่องานนิเทศภายในของโรงเรียนนาโบสถ์พิทยาคม อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อภิสรา กังสังข์. (2561). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Festallor Education. (2563). ความสำคัญของภาษาอังกฤษในด้านต่างๆ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.festallor-edu.com › why-english-is-important.
Bateman, S. T., & Snell, A. S. (2009). Management: Leading & Collaborating in a competitive world. (8th ed.). Boston, MA: McGraw Hill.
Dessler, G. (1998). Management: Leading People & Organizations in the 21st Century. Canada: Prentice-Hall.
DuBrin, Andrew J. (2010). Principles of Leadership. (6th ed.) Canada: South-Western Cengage Learning.
Harris, Ben M. (1985). Supervisory Behavior in Education. (3rd ed.) Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc.
Izwah binti Ismail. (2018). An important role of educational supervision in the digital age. The International Journal of Counseling and Education, 3(4), pp. 115-120.
Joseph F. Hair Jr., Black, W.C., Babin, B.J., and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis : A Global Perspective. (7th ed). New Jersey : Pearson Education.
Krejcie, R., V.,& Morgan, D., W. (1970). Determining Sample Size for research activities Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.