การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณี หนีนางผีเสื้อ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พิมพ์พิสุทธิ์ ขันทะสีมา
กาญจนา วิชญาปกรณ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียน     บางกระทุ่มพิทยาคม จำนวน 43 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พระอภัยมณี 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test dependent และการหาประสิทธิภาพ
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 79.68/81.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
          2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ขันทะสีมา พ. . ., & วิชญาปกรณ์ ก. . (2023). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณี หนีนางผีเสื้อ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . Journal of Modern Learning Development, 8(10), 396–414. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/263002
บท
บทความวิจัย

References

กิตติกา รัศมีแจ่ม. (2561). วรรณคดีไทยในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารสารสนเทศ. 17 (1), 13-23.

จริยา จิตตพงศ์. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านวรรณศิลป์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นิภาพร วงษ์สิลา. (2545). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการสะกดคำยากวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปกรณ์ ประจันบาน. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ภาณุ อดกลั้น. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 20 (2), 12-20

รณชัย จันทร์แก้ว. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร มูลนิธิสยามกัลมาจล : สำนักพิมพ์เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรส์ดักส์.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิก.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, แหล่งที่มา https://shorturl.asia/SQfnq