การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด

Main Article Content

ปฏิญญา โกมลกิติสกุล
ทรงภพ ขุนมธุรส

บทคัดย่อ

          การอ่านจับใจความเป็นทักษะที่มีความสำคัญในบริบทของการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านการศึกษา และการทำงาน เนื่องจากเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาให้รู้จักคิดวิเคราะห์ และสามารถเข้าใจเรื่องราวที่อ่าน วิเคราะห์ ตีความ แปลความ และประเมินค่าจากเรื่องที่อ่านได้ งานวิจัยนี้ได้พัฒนากรอบแนวคิดโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด และมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด การวิเคราะห์ผลการวิจัยนี้ใช้การเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเนินสะอาดวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 43 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test dependent
          ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจหลังการจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
โกมลกิติสกุล ป. ., & ขุนมธุรส ท. (2023). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 169–185. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/263012
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จินตนา แปบดิบ และ วริศรา วารเครือ. (2565). การศึกษาและพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตาวกลางมิตรภาพที่ 26 อำเภอแม่สอด จังหวัดตากด้วยการสอนแบบ OK5R. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 10 (1), 45-60.

ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล. (2553). การอ่านให้เก่ง. (พิมพ์ครั้งที่15). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กระดาษสา.

นิรัติศัย สุดเพาะ. (2555). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนมัญจาศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ประไพ บุตรไชย. (2560). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ OK5R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและความพึงใจต่อวิธีการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสะพานเลือกวิทยาคม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยวรรณ บุญฤทธิ์. (2561). ผลการใช้วิธีสอนอ่านแบบ OK5R ร่วมกับนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุงที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คําสมัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครสวรรค์: โรงพิมพ์หจก.ริมปิงการพิมพ์.

ศิรินทร์ทิพย์ ถานะกอง. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยวิธีสอนแบบ OK5R ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ศิวิภา ชูเรื่อง. (2550). การศึกษาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยและความพึงพอใจ ต่อวิธีการสอนแบบ OK5R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สายชล โชติธนากิจ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). รายงานการสังเคราะห์ แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุมาลี ชูบุญ. (2560). ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Walter pauk. (1984). How to study in college. New York: Houghton Mifflin.