การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ร่างกายของเรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ร่วมกับบทบาทสมมติ

Main Article Content

บัณฑรวรรณ ชำนิยันต์
ถาดทอง ปานศุภวัชร
อรุณรัตน์ คำแหงพล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ
สะเต็มศึกษาร่วมกับบทบาทสมมติ เรื่อง ร่างกายของเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได่แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับบทบาทสมมติ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับบทบาทสมมติ เรื่อง ร่างกายของเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.34/80.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
          2. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับบทบาทสมติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ทั้ง 3 ด้าน พบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านความสัมพันธ์มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมากที่สุด
          3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับบทบาทสมมติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการจัดการเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับบทบาทสมมติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ชำนิยันต์ บ. ., ปานศุภวัชร ถ. ., & คำแหงพล อ. (2024). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ร่างกายของเรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ร่วมกับบทบาทสมมติ. Journal of Modern Learning Development, 9(1), 283–298. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/264135
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กานดารัตน์ เจริญดี, อรุณรัตน คําแหงพล และ อนันต์ ปานศุภวัชร (2565). การพัฒนาความสามารถในการ แก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสารโดยการจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 10 (1), 160-174.

โครงการต้นแบบความร่วมมือ. (2548). การใช้บทบาทสมมติในการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: อาคารยูไนเต็ดเซ็นเตอร์.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นูรอาซีกีน สา, ณัฐินี โมพันธุ์ และ มัฮดี แวดราแมคู. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็ม ศึกษาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนาราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4 (1), 42-53.

บุษราคัม บุญกลาง, ประสาท เนืองเฉลิม และ กมลหทัย แวงวาสิต.(2558) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนการคิดวิเคราะห์และ เจตคติต่อ การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบใช้ ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9 (2), 100-101.

ปรียาพร โครตสาลี, อรุณรัตน์ คำแหงพล และ ถาดทอง ปานศุภวัชร. (2563). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ร่วมกับผังกราฟิก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 14 (1), 196.

เพชรปาณี อินทรพาณิชย์, สําราญ กําจัดภัย และ สมพร หลิมเจริญ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำาหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาล สกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7 (1), 99-108.

พรทิพย์ ศิริภัทรราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร. 33 (2), 49-50.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ หรือสะเต็ม. สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 19 (มกราคม-ธันวาคม 2556), 16.

โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา. บึงกาฬ: โรงรียนอนุบาลศรีวิไล.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2549). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). สุขภาพคนไทย 2563 : สองทศวรรษปฏิรูปการศึกษาไทย ความล้มเหลวและความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

สิริยาพร พลเล็ก อรุณรัตน์ คำแหงพล และกุลวดี สุวรรณไตรย์. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. (15) 1, 210-211.

สุนิสา บางวิเศษ และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2562). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยร้อยเอ็ด. 13 (3), 184-195.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา. สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 19 (1), 15-18.

อุปการ จีระพันธุ. (2556). สะเต็มศึกษาของใหม่สำหรับประเทศไทยหรือไม่. นิตยสาร สสวท. 42 (185),

-37.

Bloom. (1976). Human Characteriristics & School Learning. New York: McGraw Hill Co.

Ments V. (1999). The effective use of role play: pratical techniques for improving learning. London: Kogan page.