การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุภาวดี กุลาเลิศ
อภิชาติ พยัคฆิน
ศุภวรรณ์ เล็กวิไล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์  1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา ประชากรได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียน เลิศหล้า ถนนเกษตร นวมินทร์ จำนวน 128 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 แผน ใช้เวลา 12 คาบ 2)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วัสดุรอบตัวเรา เป็นแบบปรนัยชนิดตัวเลือก ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ( t – test แบบ dependent )
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2)ความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

How to Cite
กุลาเลิศ ส. . ., พยัคฆิน อ. ., & เล็กวิไล ศ. . (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. Journal of Modern Learning Development, 9(2), 193–208. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/264353
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น

พื้นฐาน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

เจนจิรา สันติไพบูลย์ (2561). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด STEAM ร่วมกับการสอนเชิง

ผลิตภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการและความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ชลธิชา ชิวปรีชา. (2554). ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะด้วยใบตอง. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนัฏดา ภูโปร่ง. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบ สะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่2ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. ในโครงการบัณฑิตศึกษา วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด(บ.ก.), นวัตกรรมสร้างสรรค์ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ครั้งที่ 1 (น. 790-798).

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ . (2559). คิดสร้างสรรค์ สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.

ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเลิศหล้าถนนเกษตร นวมินทร์. (2563). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเลิศหล้าถนนเกษตร นวมินทร์ พุทธศักราช 2563 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. เอกสารวิชาการ: โรงเรียนเลิศหล้าถนนเกษตร นวมินทร์.

ภิญโญ วงษ์ทอง. (2561). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ STEAM Education ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสาร หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 10, (1), 101-109.

วิจารณ์ พานิช. (2560). ศาสตร์และศิลป์ของการสอน. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์,2560.

มัสยา บัวผัน. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48 (2), 203 - 224.

ยศวีร์ สายฟ้า. (2555). การเสริมสร้าง วิทย์เทคโนโลยี ศิลปะ และคณิตศาสตร์ด้วย STEAM Model. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 25656. แหล่งที่มา: http://www.educathai.com/workshop_download_ handout_download.php?id=60&

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผล การประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในยุคไทย 4.0 ตามแนวคิด STEM, STEAM, STREAM. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 13 (1), 19 - 30.

สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2562). นวัตกรรมการศึกษาบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนา หลักสูตร,โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). 9 (1), 1-16.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: http://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_ 2559 0823143652_358135.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี ๒๕๕๙/๒๕๖๐ แนวทางการปฏิรูป การศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand ๔.๐. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Michaud, Meghan Reilly.(2014). K-12 Students see STEAM every day. In The STEAM Journal. 1 (2).

Yakman, G. (2008). STEAM education: An overview of creating a model of Integrative education. Pupils' Attitudes Towards Technology (PATT-19) Conference : Research on Technology, Innovation, Design & Engineering Teaching, Salt Lake City, Utah, USA.