การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอน โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดน้องใบบัวนักวางแผน กับการสอนปกติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดน้องใบบัวนักวางแผนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ชุดน้องใบบัวนักวางแผนกับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนลำพะอง(ราษฎร์จำเริญบำรุง) ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 60 คน แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองใช้วิธีการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดน้องใบบัวนักวางแผนกับการสอนแบบปกติ เรื่องเศรษฐศาสตร์ รายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมใช้วิธีการสอนแบบปกติ จำนวน 30 คน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดน้องใบบัวนักวางแผน จำนวน 8 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 8 แผน และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบสองกลุ่ม สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า 1) หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดน้องใบบัวนักวางแผน เรื่องเศรษฐศาสตร์วิชาสังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพ 81.42/80.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดของ E1/E2 คือ 80/80 2) สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องเศรษฐศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดน้องใบบัวนักวางแผน สูงกว่าการเรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ .05
Article Details
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวียสาสน์.
อรนุช ลิมตศิริ. (2557). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชนานันทน์ ฟองศิริ. (2559). การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์ชุด ประเพณีสำคัญของชาวล้านนา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่.
ลภัสรดา เป็นใจ. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา เรื่อง กฎหมาย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบุ่งอ้ายเจี้ยม. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 1-7.
ชัยพิวิชร์ ฉาสันเทียะ. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องอารยธรรมโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ ที่เรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์กับการเรียนแบบปกติ. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 1-7.
ศิรประภา จังภานิช. (2557). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง ชุมชนคนไร่ขิง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
หยวน จาง. (2559). การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์ภาษาไทย เรื่องเทศการสำคัญของจีน. พิฆเนศวร์สาร. 12 (1), 130-135.
Violeta F. & Rosita P. (2021). Comparison betwee the Use of Lecture and Workbook in Improving the Academic Performance of Students in Ecology.Turkist Journal of computer and Mathematics Education, 12 (6), https://turcomat.org/index.php/ turkbilmat/article/view/8426