ปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อบทบาททางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เอกรินทร์ ขวัญเมือง
สมเกียรติ เกียรติเจริญ
วัชรินทร์ สุทธิศัย

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการมีส่วนร่วม ที่ส่งผลต่อบทบาททางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาระดับบทบาททางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อบทบาททางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างการวิจัยได้แก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น จำนวน 360 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร  ยามาเน  สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและแบบอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายปิดแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย 
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง
โดยวิธี Stepwise โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อบทบาททางสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบล
ท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก  เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านผลประโยชน์  ด้านการปฏิบัติ ด้านการตัดสินใจ และด้านการประเมินผล 2) บทบาททางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือด้านศาสนา  อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน  เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้  ด้านการศึกษา  ด้านวัฒนธรรมประเพณี และด้านการพัฒนาชุมชน 3) ปัจจัยการมีส่วนร่วม  3 ด้าน  ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลประโยชน์  ส่งผลต่อบทบาททางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยรวม  ได้ร้อยละ 66.70  มีค่า
R2 = .667 และมีค่า F = 166.142 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ขวัญเมือง เ. ., เกียรติเจริญ ส. ., & สุทธิศัย ว. (2024). ปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อบทบาททางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development, 9(4), 42–55. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/266231
บท
บทความวิจัย

References

กรภัทร์ นามบุญเรือง. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในเขตเทศบาลเมืองนครพนม

อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม :

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จีรวรรณ อินทรีสังวร. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำแนวพัฒนาสามปีของ

องค์การบริหารส่วนตำบลโปร่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย.(วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต). เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ใจแก้ว วิสายอน.(2553).บทบาทของผู้สูงอายุในกิจกรรมทางสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบล

เวียงชัย อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เฉลิมชัย จันทรเสนา. (2544). บทบาทของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ที่มีต่อการ

พัฒนาชุมชน การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมประเพณี อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ.

(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สถิติประชากร, พฤศจิกายน 2565.

ขอนแก่น : เทศบาลตำบลท่าพระ.

ธรรศ ปัญญาสืบ. (2554). บทบาททางการเมืองของกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง

จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ.(2549). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นของไทย. กรุงเทพ ฯ :

ธรรมดาเพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพ ฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญเลิศ ราโชติ. (2549). “บทบาทผู้สูงอายุ” อำนาจเจริญ : ชมรมผู้สูงอายุอำนาจเจริญ.

ประภาพิศ สัญชาติเจตน์. (2549). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพ ฯ : ไพศาลศิลป์.

พาณิชย์ คำมุงคุณ (2561) บทบาทผู้สูงอายุในการพัฒนาสังคม ชุมชนบ้านทุ่งใหญ่ ตำบลภูกระดึง

อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

มีแสง อินธิเสน. (2555). บทบาทของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลฮางโฮง อำเภอ

เมือง จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราช

ภัฏสกลนคร.

วุฒิสาร ตันไชย. (2547). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น : ความก้าวหน้าหลัง

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. กรุงเทพ ฯ : คลังวิชา.

สถิติแห่งชาติ, สำนักงาน. (2565).การสำรวจประชากรผู้สูงอายุประเทศไทย. กรุงเทพ ฯ : กองรายงานสถิติ.

ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, กรม. (2550). รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการ

พัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพ

การบริหารงาน.กรุงเทพ ฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

อรทัย ก๊กผล. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ประชุมช่าง.

อคิน รพีพัฒน์. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพ ฯ : ศูนย์การศึกษา

นโยบายสาธารณสุข.

Cohen และ Uphoff. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measure

for Project Design Implementation and Evaluation. Ithaca, NY : Cornell University.

Huntington, Samuel P. and Jorge I. Domingnez (1975). “Political Development,” in Handbook of Political Science. V. 3. edited by Fred I. Greenstien and Nelson W. Polsby. P.1- 114 Massachusetts : Addison Wesley.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper and Row.