ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และการวิเคราะห์รายการค้า วิชาการบัญชี 1 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการสอน

Main Article Content

ศุภราภรณ์ แปลกจิตร
นันทน์ธร บรรจงปรุ

บทคัดย่อ

           การบัญชีถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญในสังคมแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ในด้านการบัญชี ที่สำคัญอย่างยิ่งความรู้ด้านการบัญชีช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับต่างชาติ และดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545 : 15-16)  ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอน วิชาการบัญชี 1 ซึ่งเป็นรายวิชาเพิ่มเติม สำหรับห้องเรียนแผนธุรกิจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความเห็นว่า นักเรียนไม่สามารถอธิบายสมการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และวิเคราะห์รายการค้าได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อ ๆ ไปของวงจรบัญชีได้ ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะจัดทำชุดการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์รายการค้าตามหลักสมการบัญชี และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอน เรื่องสมการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และการวิเคราะห์รายการค้า (2) ประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการบัญชี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองแค “สรกิจพิทยา” ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดการสอน  ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการสุ่มตัวอย่าง เลือกแบบง่าย  เนื่องจากมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองแค “สรกิจพิทยา” อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 33 คน ที่เรียนวิชาการบัญชี 1 ซึ่งเป็นห้องเรียนแผนธุรกิจที่มีห้องเรียนเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องสมการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และการวิเคราะห์รายการค้า โดยใช้ชุดการสอน (2) ชุดการสอนสมการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และการวิเคราะห์รายการค้า  (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าสถิติ t–test (dependent samples) คำนวณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสังคมศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
           ผลการวิจัยพบว่า
           1. ชุดการสอน เรื่อง สมการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และการวิเคราะห์รายการค้า วิชาการบัญชี 1 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย 4.36 ถือว่าเป็นชุดการสอนที่มีความเหมาะสมในระดับมาก และมีค่าดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมทุกแผนการจัดการเรียนรูh
           2. ผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาการบัญชี 1 เรื่อง สมการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และการวิเคราะห์รายการค้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการสอน ปลายภาคเรียนสูงกว่า หลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
           3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชี 1 เรื่อง สมการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และการวิเคราะห์รายการค้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการสอน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
แปลกจิตร ศ., & บรรจงปรุ น. . (2024). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และการวิเคราะห์รายการค้า วิชาการบัญชี 1 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการสอน. Journal of Modern Learning Development, 9(7), 230–246. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/269750
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา https://aca demic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf.

กัลยา ตันศรี. (2536). การสร้างชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง การวิเคราะห์รายการค้าและการบันทึกรายการค้ในสมุดบัญชีสำหรับธุรกิจให้บริการเจ้าของคนเดียว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชัยยงค์ พรหมวงศ์, บุญเลิศ ส่องสว่าง, และวาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน หน่วยที่ 8-15 (ชุดการเรียนการสอน). (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โชติมา แทนฟัก. (2561). การพัฒนาชุดการสอนวิชาการบัญชีเบื้องต้น 2 ที่เน้นสร้างประสบการณ์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานสำหรับ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา: https://conference.pim.ac.th/thai/wp-content/uploads/2018/07/I-edu cati on-edit.pdf.

ถาวร ลักษณะ. (2548). การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ทิศนา แขมมณี . (2552). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.

พนอจิต จันทา. (2548). การพัฒนาชุดการสอนวิชาการเขียน สำหรับนักศึกษาศิลปศาสตร์ ระดับปริญญาตรี.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

มยุรี บุญเลี่ยม. (2545). การพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง "ความน่าจะเป็น" โดยใช้วิธีการแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมความตระหนักในการรู้คิด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

รุ่งทิวา นาวีพัฒนา. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้เทคนิคแผนที่ความคิด. ครุศาสตร์สาร Journal of Educational Studies. 15 (2), 32.

ลักขณา ศิริวัฒน์. (2549). การคิด. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ศิริมา เผ่าวิริยะ. (2544). การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง สิ่งมีชีวิต สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค์: สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์...การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545 (ฉบับที่ 2). ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม2566. แหล่งที่มา: https://www.bic.moe. go.th/images/storie s/5Poro bor._2 542pdf.pdf

อารีรัตน์ โพธิ์คำ. (2551). การพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เอมอร บริบูรณ์. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างการจัดการเรียนรู้จากชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา