ประสิทธิผลของโปรแกรมคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังสองครั้ง (The pretest – posttest one groups design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และ 2. เปรียบเทียบแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 - มกราคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในแผนกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2566 จำนวน 30 คน ได้มาจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบค่าที Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก พบว่า ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ด้านแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีไปประยุกต์ใช้เพื่อบูรณาการกับการให้บริการทางการพยาบาลเพื่อแนะนำและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องมะเร็งปากมดลูก รวมทั้งประชาสัมพันธ์ การให้กำลังใจ และการกระตุ้นเตือนให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะช่วยให้สามารถค้นพบมะเร็งปากมดลูกได้ในระยะแรก ส่งผลให้ลดอัตราการเสียชีวิตได้
Article Details
References
เพ็ญนิภา ชำนาญบริรักษ์ และ เพ็ชรศักดิ์ อุทัยนิล. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ของสตรีในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2 (2), 1-12.
กรมอนามัย. (2558). การควบคุมมะเร็งปากมดลูกที่ครอบคลุม: แนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์.
รัฐพล สาแก้ว, จงกลนี ธนาไสย์ และบัณฑิต วรรณประพันธ์. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล็ก อำเภอเสขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 23 (1), 17-30.
ริญดา ตะวันกุลกิตติ. (2564). รูปแบบกิจกรรมการสร้างแรงจูงใจและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมสตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเภ้า อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. 1 (6), 5-14.
ศรีสุรัตน์ ชัยรัตนศักดา. (2564). ผลการใช้โปรแกรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 18 (1), 60-69.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2563). แนวทางการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test. นนทบุรี: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
สุวิมล สอนศรี, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล และชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาล. 70 (3), 11-19.
Department of Health. (2016). Comprehensive Cervical Cancer Control: A guide to essential practice. Bangkok : Bureau of Reproductive Health, 439. 2016. [in Thai].
Malmir, S. (2018). Effect of an educational intervention based on protection motivation theory on preventing cervical cancer among marginalized women in west iran. Asian Pacific journal of cancer prevention. 19 (3), 755-761. doi:10.22034/APJCP.2018.19.3.755
Strecher & Rosenstock. (1996). Social learning theory and health belief model. Health Education Quarterly.15 (2), 75-138.