ปัจจัยพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูเทศบาล ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูเทศบาลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) ศึกษาปัจจัยพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูเทศบาลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีประชากร คือ ครูเทศบาล ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,320 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูเทศบาล คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม G*Power ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 166 คน สุ่มครูเทศบาล โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูเทศบาล และ 2) แบบประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูเทศบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ โดยใช้วิธี Enter ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูเทศบาลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. สมการพยากรณ์ปัจจัยประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูเทศบาลในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน เขียนสมการได้ ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
= 2.065 + 0.270 – 0.214 + 0.212
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
= 0.257 – 0.293 + 0.277
Article Details
References
กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 – 2570). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2 023/2/2354_62 70.pdf.
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.). (2564). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2567.แหล่งที่มา : https://otepc.go.th/th/content_page/item/3487-w23-2564.html.
ฑิฆัมพร สมพงษ์และคณะ. (2559). การบริหารสถานศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 14 (1), 97-107.
นิภาพร นนธิสอนและคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถนศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา อำเภอลำลูกกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 ปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 7 (3), 71-84.
นวลปรางค์ ภาคสารและจันทนา แสนสุข. (2559). อิทธิพลของบรรยากาศองค์กรและความยุติธรรมขององค์กรที่มีต่อประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานคระกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 13 (1), 43-65.
ปิลันธร คงจุ้ย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเทศบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 6 (2), 135-149.
พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. (2560). การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตรง. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 7 (2), 20-37.
วนิดา ทิพย์กมลธนกุล. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงในใจการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตการศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7 (1), 255-271.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2564). บทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ต่อการอภิปรายแรงจูงใจในการทำงานผ่านทฤษฎีความเสมอภาคของ J.STACY ADAMS. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 17 (3), 180-190.
Adams, J.S. (1965). Inequity in social exchange. Advance in Experimental and Social Psychology. 2, 267-299.
Best, W. John. (1997). Research in Education. Boston MA.: Allyn and Bacon.
Hay Group. (1995). Mastering Global Leadership: Hay/McBer International CEO Leadership study. Boston: Hay/McBer Worldwide Resource Center.
Herzberg, F.; Maucner, B, & Snyderman, B. B. (1959). The Motivation to Work.(2nd ed.) New York: John Wiley & Sons Inc.