การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค KWL-Plus ในรายวิชาการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค KWL-Plus ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิค KWL – Plus ของระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ห้องที่ 1 จำนวน 34 คน ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิค KWL-Plus มีจำนวน 8 แผน เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่า มีความเหมาะสมในทุกด้าน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.13 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนและหลังเรียน เป็นข้อสอบปรนัยชนิดแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.08-0.58 มีค่าความเชื่อมัน (α ) เท่ากับ 0.83 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค KWL-Plus จำนวน 16 ข้อ ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบถาม ผลรวมรายข้อทุกข้อ เท่ากับ 1 การแปลผลใช้ได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค KWL-Plus สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค KWL-Plus โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
วารุณี กรัดเนียม. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคKWL ในรายวิชาการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศักรินทร์ ศิรินัย. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบนักสืบ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Anderson. (2000). Learning and memory: An integrated approach. John Wiley &Sons Inc.
Elisa, L., & Suparman, U. (2017). MODIFYING KWL STRATEGY IN COLLEGE AND AN ALYZING STUDENTS’READING HABIT TO IMPROVE READING ABILITY. U-Jet, 6 (8)