ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม จำนวน 285 คน จากประชากร 1,086 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ตำแหน่งเป็นชั้นภูมิและทำการสุ่มตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายตามลำดับจากมากที่สุด ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำแบบมอบหมายงาน ด้านภาวะผู้นำแบบสั่งการ ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม และด้านพฤติกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์ ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถร่วมกันทำนายตัวแปรประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ได้ร้อยละ 57.00 (R2 = 0.570)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
กวิสรา ชูทอง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธาดา วิกัยวราภรณ์ อุไรรัตน์ แย้มชุติ และวิเชียร อินทรสมพันธ์. (2567). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ. Journal of Modern Learning Development. ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 (2023): กรกฎาคม 2566, 98-114. . สืบค้นจาก ; https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ jomld/article/view/260898.
ปาริชาต สมใจ. (2556). อิทธิพลของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา) นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพ็ญนภา ศรีแปลก. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
รัตนา เหลืองาม. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วาทิต บุญใบ, ไชยา ภาวะบุตร, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ. (2566). ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ปีที่ 12 ฉบับที่ 45 : ตุลาคม - ธันวาคม 2566.
วิเชียร อินทรสมพันธ์ วิเชียร ทุวิลา และ ปราณีต ม่วงนวล. (2567). การเสริมสร้างคุณลักษณะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9(4),16-32. สืบค้นจาก ; https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/267243.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).(2564). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ม.3 และ ม.6 ปีการศึกษา 2561-2564. สืบค้นจาก ; https://www.niets.or.th/th/content/view/ 11821.
สาวิตรี มาตขาว. (2560). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ ค.ม.สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. (2565). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้นจาก ; http://www.sesaskss.go.th/news-detail2249 43875.
Hersey, Paul, and Blanchard, Kenneth H. (1985). Management of Organizational behavior Utilizing Human Resources (Forth Edition). New Delhi : Prentice-Hall of India.
Krejcie, Robert V. and Dargle, Morgan W. (1970). Educational and Psychological Measurement.. Determining Sample Size For Research Activities. 30 (3) : 607- 608.
Moats, S.H. (1997). The Relationship between Organizational Culture and Organizational Effectiveness: Producing Pastoral Ministry and World-Mission Major Graduates in Four Denominational Colleges. Twin Cities, MN : Graduate School The University of Minnesota.
Mott, P.E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York : Harper and Row.
Weinrich, Heinz and Koontz, Harold. (2005). Management: A Global Perspective. New Delhi : McGraw Hill.
Zhou ZhengFa, Wichian Intarasompun, and Nuttamon Punchatree. (2024). The Leadership Characteristics of Administrator of Chongqing Normal University. Journal of Modern Learning Development. 9, 6 (June. 2024), 96–109. Retrieved from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/268702.