รูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ฐิตาภัสร์ พิชญาธิติพัฒน์
พีรพงศ์ ทิพนาค
นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ
นิตยา ศรีมกุฎพันธ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) กำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ (2) เสนอรูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยใช้แบบวิจัยแบบยผสมวิธีทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 365 คน ซึ่งคำนวณมาจากโปรแกรม G*Power และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง และแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
          ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 3 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ ได้แก่องค์ประกอบด้าน การกำหนดพันธกิจของโรงเรียน มี 2 ตัวบ่งชี้ การบริหารจัดการหลักสูตร มี 4 ตัวบ่งชี้ และ การเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ มี 7 ตัวบ่งชี้ และ (2) รูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดีมาก โดยมีค่า c2/ df = 1.89, GFI = 0.96, AGFI = 0.93, TLI = 0.99, RMR = 0.02, และ RMSEA = 0.05 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.928 – 0.990 ซึ่งสูงกว่า 0.70 โดยองค์ประกอบที่สำคัญเรียงตามลำดับ ได้แก่ การบริหารจัดการหลักสูตร มีอำนาจในการพยากรณ์รูปแบบได้สูงสุดมากถึงร้อยละ 98.00 ส่วนการเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้  มีอำนาจในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 94.90 และ การกำหนดพันธกิจของโรงเรียน มีอำนาจในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 86.20

Article Details

How to Cite
พิชญาธิติพัฒน์ ฐ. . ., ทิพนาค พ., จิรโรจน์ภิญโญ . น. ., & ศรีมกุฎพันธ์ น. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . (2024). รูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Journal of Modern Learning Development, 9(7), 472–488. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/276079
บท
บทความวิจัย

References

ธีระ รุญเจริญ. (2560). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การนิเทศการสอน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

เมตตา สอนเสนา. (2557). ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน.

Alig-Mielcarek, Jana M. & Hoy, W. K. (2005). A Thoeretical and Empirical Analysis of The Nature, Meaning, and Influence of Instructional Leadership: The Ohio State University. Online.Retrieved from http://72.14.235.104/search?q= cache:P2iwpAZ4GawJ:www. coe.ohio-state.edu.

Browne, M.W. and R. Cudeck . (1993). Alternative ways of assessing model fit, in Testing Structural Equation Models, ed. K.A. Bollen and Long. S., Newbury Park CA: Sage, p.136-162.

Davis, G.A. & Thomas, M.A. (1989). Effective Schools and Effective Teachers. Boston : Allyn and Bacon.

Edmonds, R. (1979). Some schools work and more can. California ; Corwin Press.

Glickman, C. D., Gordon, S. P. & Ross Gordon, J. M. (2007). Supervision and Supervision and Curriculum Development. Instructional Leadership : A Developmental Approach (7th Ed.). Boston : Allyn & Bacon.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate data analysis: Pearson new international. (8th ed.). Cengage Learning EMEA.

Hallinger, P.,& Darren, A. B. (2013). Synthesis of findings from 15 years of educational reform in Thailand: lessons on leading educational change in East Asia. International Journal of Leadership in Education. 16 (4), 399-418. DOI:10.1080/13603124.2013.770076

Krug, S. (1993). Instructional leadership: A constructivist perspective. New Jersey : Prentice Hill.

Marzano, R. J., Waters, T., & McNulty, B. A. (2005). School leadership that works: From research to results. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.

McCier, M. H. (2003). A study of high school principals' instructional leadership behaviors as perceived by teachers in urban comprehensive and magnet high schools. from ProQuest Dis sertations & Theses Global

McEwan, E. K. (2003). 7 steps to effective instructional leadership. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

UNESCO (2023). Concept note for the 2024/5 Global Education Monitoring Report on leadership and education . Global Education Monitoring Report Team [1111] ED/GEM/ MRT/2023/CN DOI : https://doi.org/10.54676/SUOE3951.