การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอากาศรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ปาริชาติ จันทร์ย้อย
กิตติศักดิ์ ลักษณา

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอากาศรอบตัวเรา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอากาศรอบตัวเรา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/9 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านบางกะปิ สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอากาศรอบตัวเรา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/9  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ T-test แบบ Dependent Sample
          ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง อากาศรอบตัวเรามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื่องจากได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1 ทุกข้อ จึงสามารถนำมาใช้พัฒนาความรู้ด้านทักษะทางวิทยาศาสตร์ขึ้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอากาศรอบตัวเรามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอากาศรอบตัวเรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

How to Cite
จันทร์ย้อย ป. ., & ลักษณา ก. . (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอากาศรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 9(10), 566–584. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/277422
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2542). กระบวนการเรียนรู้และยุทธศาสตร์การเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ปแมนเนจ-เม้นท์ จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). ปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการศึกษาชั้นเรียนและการชี้แนะโดยพี่เลี้ยงของมหาวิทยาลัย.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 12 (2), 47-63.

ณพัฐอร บัวฉุน. (2561). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลย-อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 13 (1), 133-139.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ธนพร มนเพียรจันทร์ และ ศิริพร พึ่งเพ็ชร์. (2565). การศึกษาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจําวันและความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 5 (1), 61-72.

นิภา ตรีแจ่มจันทร์. (2562). การพัฒนาทักษะกรพะบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง.สาขาชีววิทยา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.scimath.org/e-books/8923/flippingbook/index.html.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Choowong & Worapun. (2021). The Effects of 5E Inquiring-Based Learning Management on Grade 7 Students’ Science Learning Achievement. Journal of Educational Issues. 8 (2), 193-201.

Desouza, (2017). Nazziwa et al., (2022). Exploring the integration of ChatGPT in inquirybased learning: Teacher perspectives. International Journal of Technology in Education (IJTE). 7 (2), 200-217.

Kulapian et al., (2023). Inquiry-Based Learning in Natural Sciences through the Application of the 5e Model to Develop Natural Inquiry Competence for Middle School Students in Vietnam. 6 (4), 206-216.

Rubio and Garcia Conesa. (2022). Inquiry-Based Learning in Primary Education. Journal of Language and Linguistic Studies. 18 (2), 623-647.