อัตลักษณ์ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวไทยเชื้อสายเขมร ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวไทยเชื้อสายเขมร ในตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งศึกษากระบวนการสืบทอดอัตลักษณ์และการดำรงอยู่ของความเชื่อ พิธีกรรมของชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชน ความเชื่อ อัตลักษณ์ของชุมชน และผู้ที่มีความสัมพันธ์กับชุมชนในเรื่องของพิธีกรรมสำคัญที่ชุมชนยึดถือปฏิบัติ
ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวไทยเชื้อสายเขมร ในชุมชนดงน้อยมีความเชื่อและศรัทธาในการประกอบพิธีกรรม ทุกงานพิธีกรรมจะมีศูนย์กลางของจิตวิญญาณคือ ผีบรรพบุรุษ ผีไร่ ผีนา ในการดลบันดาลช่วยปกป้อง ดูแลรักษา ช่วยเหลือให้ประสบความสำเร็จ ปรากฏในพิธีกรรมแซนโฎนตา พิธีกรรมแซนเปรียะภูมิสแร พิธีกรรมแซนการ์ พิธีเสี่ยงทาย และพิธีจองได และจากการศึกษากระบวนการสืบทอด อัตลักษณ์และการดำรงอยู่ของความเชื่อ พิธีกรรมของชุมชน พบว่า ท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยทำให้มีการลดทอนระยะเวลาและขั้นตอนพิธีกรรมลดลง โดยมีการนำวัฒนธรรมแบบพุทธศาสนาเข้ามาปฏิบัติร่วมด้วยในงานพิธี แต่ความเชื่อศรัทธาในจิตวิญญาณบรรพบุรุษยังคงมีความสำคัญเป็นสิ่งแรก และดำรงอยู่อย่างแนบแน่น ท่ามกลางความสัมพันธ์แบบเครือญาติของผู้คนในชุมชนในการประกอบพิธีกรรมร่วมกัน
Article Details
References
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และพรพิไล เลิศวิชา. (2537). วัฒนธรรมหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาชนบท มูลนิธิหมู่บ้าน.
ฌวง, โตว์จ. (2565). เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) เหตุที่ทำให้สยามปกครองพระตะบองกว่า 1 ทศวรรษ. ศิลปวัฒนธรรม, 28, 127–135.
ธยายุส ขอเจริญ, พระครูโกศลศาสนวงศ์, พระธงชัย นนฺติธโร และสุทัศน์ ประทุมแก้ว. (2562). พลวัตวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา: คติความเชื่อ และการละเล่น. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ.
บารี, บี ธีโอดอร์. (2540). บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย เล่ม 1 ภาค 1-4 [Sources of Indian Tradition] (พิมพ์ครั้งที่ 2). (จำนงค์ ทองประเสริฐ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
บุญเทียน ทองประสาน. (2531). แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ :สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
บุญยเสนอ ตรีวิเศษ. (2563). พิธีบุญถือบิณฑ์ (พิธีบ็อนกันเบ็ญ) ของชาวเขมรถิ่นไทยและชาวเขมรกัมพูชา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 8(2), 166–185.
ประเสริฐ ศีลรัตนา, จินดา เนื่องจำนงค์, ชูชาติ นาโพตอง, กิจจา สิงห์ยศ, อรวรรณ แสงอรุณ,
นวลลออ อนุสิทธิ์ และศักดิ์ดา มลิกุล. (2548). แนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา ฉบับอำเภอราชสาส์น.ฉะเชิงเทรา: เอ็มเอ็นคอมพวออฟเซท.
ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2543). การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เมธาวี ศิริวงศ์. (2556). ประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม กรณีศึกษา งานเทศกาลประเพณีแซนโฎนตา อำเภอขุขันต์ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริพร ณ ถลาง. (2559). “คติชนสร้างสรรค์” บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
สารภี ขาวดี. (2559). ประเพณีแซนโฎนตา: การสืบทอดและการดำรงอยู่ในบริบทพื้นที่ดั้งเดิม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 7 (2), 131–163.