วารสารปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวารสารอีก ฉบับหนึ่งที่เปิดพื้นที่ให้นักวิชาการ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้นำเสนอบทความทางปรัชญาและศาสนาหรือวัฒนธรรมเพื่อเผยแผ่ต่อสาธารณชนอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการที่เกิดจากองค์ความรู้ทางปรัชญาและศาสนา วารสารฉบับนี้ประกอบด้วยบทความทางปรัชญาและศาสนาจำนวน 6 บทความ บทความกลุ่มแรกเป็นบทความทางด้านปรัชญา เริ่มต้นด้วยบทความที่นำเสนอทฤษฎีความรู้ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ของคาร์ล ปอปเปอร์ ที่ประกอบด้วยการพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จ (falsifiability) และการอ้างเหตุผลแบบนิรนัย การพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จเป็นหลักเกณฑ์สำหรับขอบเขตในการค้นคว้าความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ เป็นกฎเกณฑ์ในการแบ่งแยกสิ่งที่เป็นทฤษฎีในทางวิทยาศาสตร์กับสิ่งที่ไม่เป็นทฤษฎีในทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการอ้างเหตุผลแบบนิรนัยทำให้ทฤษฎีของวิทยาศาสตร์มีความชัดเจนมากยิ่งกว่าการอ้างเหตุผลแบบอุปนัย บทความที่สองเป็นบทความที่เกี่ยวกับปรัชญาอินเดีย นำเสนอปรัชญาการศึกษาของสรวปัลลี ราธกฤษณัน ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับสถานศึกษา ผู้สอน ผู้เรียน ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเชื่อว่า โดยเชื่อว่า การศึกษาเป็นการเรียนรู้ และสำรวจตรวจสอบตัวเอง เป็นการพัฒนาสติปัญญาควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นวิถีไปสู่สัจธรรมของชีวิตบทความกลุ่มที่สองเป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา บทความแรกนำเสนอแนวทางการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อสักการะครูบาในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยนำเสนอแนวทางการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อสักการะครูบาในเขตอำเภอลี้ที่สำคัญ คือ 1) ด้านภาพลักษณ์ ควรสร้างภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสมัยใหม่เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว 2) ด้านกิจกรรม กำหนดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับแหล่งท่องเที่ยวให้อยู่ในปฏิทินการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยยังคงรักษารูปแบบ และพิธีกรรมเดิมไว้ 3) ด้านวิถีชีวิตควรรักษาแบบแผนการดำเนินชีวิตของชาติพันธุ์ที่หลากหลายและเกี่ยวเนื่อง  กับพระพุทธศาสนาในพื้นที่ไว้ผ่านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม  บทความที่สองนำเสนอรูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร มี 2 ประการ คือ 1) รูปแบบกัลยาณมิตร ซึ่งนำเสนอแนวปฏิบัติ 12 ประการของการปรึกษาทั้งส่วนของผู้ให้การปรึกษาและผู้ขอรับการปรึกษา อันตั้งอยู่บนฐานของความเป็นกัลยาณมิตร คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ และ2) กระบวนการของการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร 4 ขั้นตอน เรียกกว่า 4 ส Model คือ 1) สร้างศรัทธา 2) สนทนาเปิดใจ 3) เสริมธรรมเสริมปัญญา และ4) แสวงหาสันติ บทความกลุ่มที่สามเป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชุมชนบทความแรกนำเสนอความเชื่อในหมอธรรมบ้านสามขา ตำบลสามขา อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านบ้านสามขา ตำบลสามขา อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด มีความเชื่อว่า หมอธรรมเป็นบุคคลที่ปฏิบัติตน เป็นตัวอย่างที่ดีต่อชุมชน เป็นคนมีศีลมีธรรมปฏิบัติตามศีล 5 อย่างเคร่งครัด สามารถขจัดปัดเป่าผีร้ายได้ทุกประเภท เมื่อเกิดการเจ็บป่วยซึ่งเชื่อว่ามีสาเหตุ มาจากการการถูกผีร้ายกระทำ ชาวบ้านจึงมักมาให้หมอธรรมผูกฝ้าย ชาวบ้านจึงมักมาให้หมอธรรมผูกฝ้าย รดน้ำมนต์ ใช้เวทย์มนต์ขจัดปัดเป่าผีร้ายออกไป หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏ ในหมอธรรม คือ ศีล 5 พรหมวิหาร 4 และสังคหวัตถุ 4 เพื่อควบคุมพฤติกรรมคน ในชุมชนให้มีความสงบสุข และบทความที่สองนำเสนอความเชื่อเรื่องตะกวด ในฐานะเป็นสัญลักษณ์เชิงอำนาจ โดยตะกวดมีฐานะเป็นตัวแทนของปู่ตา ชาวบ้านจึงต้องให้ความเคารพยำเกรงต่อตะกวด ความหมายในเชิงมายาคติ แสดงออกในลักษณะของการสยบยอมของชาวบ้านที่มีต่ออำนาจของตะกวด ผ่านพิธีกรรมเซ่นไหว้ปู่ตาตะกวด ชาวบ้านเชื่อว่า ผีปู่ตาตะกวดสามารถบันดาลให้เกิดความสุขความทุกข์ได้ ตะกวดมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านในฐานะของตัวแทนปู่ตาซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ที่คนในชุมชนให้ความเคารพอย่างไม่มีข้อโต้แย้งหรือสงสัยต่อตะกวด

Published: 2018-12-26

A Study of Belief in Modhum at Baan Samkha, Phonsai District, Roi-et Province

พระอภิชาติ พุทธญาโณ, ทักษิณาร์ ไกรราช, พระโสภณพัฒนบัณฑิต -

100-120

Lizard : Symbolic of Power

ปรีชา บุตรรัตน์

121-137