การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จำนวน 94 รูป/คน ซึ่งลงทะเบียนเรียนรายวิชา การปฏิบัติกรรมฐาน ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (1967, p. 608) และใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 76 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่นักศึกษารู้จัก และ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่นักศึกษาต้องการพัฒนา สถิติที่ใช้ในวิจัยประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณธรรมจริยธรรมที่นักศึกษาต้องการพัฒนา ประกอบด้วย (1) ความมีวินัย (2) ความรับผิดชอบ (3) ความซื่อสัตย์ 4) ความอดทนอดกลั้น (5) ความมีเมตตา (6) ความเสียสละ และ (7) ความกตัญญูกตเวที 2) ระดับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง โดยรวมอยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 3.97, S.D. = 0.170) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ความซื่อสัตย์ (x̅ = 4.34, S.D. = 0.075) รองลงมาได้แก่ ความเสียสละ (x̅ = 4.27, S.D. = 0.094) ความอดทนอดกลั้น (x̅ = 3.99, S.D. = 0.055) ความกตัญญูกตเวที (x̅ = 3.86, S.D. = 0.157) ความมีเมตตา (x̅ = 3.85, S.D. = 0.236) ความมีวินัย ( = 3.74, S.D. = 0.143) และความรับผิดชอบ (x̅ = 3.71, S.D. = 0.254) 3) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม อยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 4.00, S.D. = 0.447) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในการเรียนการสอนในรายวิชา การปฏิบัติกรรมฐาน อยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 4.00, S.D. = 0.168) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในกิจกรรมไหว้พระสวดมนต์อยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 3.99, S.D. = 0.098) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมประจำปี 2563 อยู่ที่ระดับมาก (x̅ = 3.96, S.D. = 0.145)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). 8 คุณธรรมพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา.
กัลยา ศรีปาน. (2542). ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบุญเลิศอนุสรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ
จิรภา คำทา และ สมบัติ วรินทรนุวัตร. (2559). การศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1962-1978.
ทองพูล ภูสิม ศักดิ์พงศ์ หอมหวน และสมบัติ ฤทธิเดช. (2554). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอังพึงประสงค์ 8 ประการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กรณีศึกษาโรงเรียนแกดำวิทยาคาร สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ว.มรม. 5(1). (มกราคม – เมษายน 2554)
พจนีย์ แพ่งศรีสาร. (2547). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. (การสอนสังคมศึกษา). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พระครูใบฎีกาพงษ์พันธุ์ ปุญฺญวํโส (บุญสอน). (2553). ศึกษาการส่งเสริมวินัยนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวัชระ สํวโร (กสิวัฒน์). (2558). การพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดรังสิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. (2559). คู่มือนักศึกษา: หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559). เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2530). วิทยากรกับการปลูกฝังและสร้างเสริมค่านิยม. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา
RYT9.com. (2557). คสช. กำหนด 12 ค่านิยมหลักของคนไทย เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง. ข่าวทั่วไป. เผยแพร่เมื่อ 12 กรกฎาคม 2557. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.ryt9.com/s/govh/1949621
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed., New York: Harper and Row