ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรม ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดเลย

Main Article Content

พลวัฒน์ รสโสดา
เกษม ประพาน
สุทิน เลิศสพุง

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบการกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดเลย (ชุมชนหนองผักก้าม ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย) โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเลย (ชุมชนหนองผักก้าม ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย) จำนวน 102 คน โดยใช้ข้อมูลที่เป็นแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสรุปผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิธี ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบการกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดเลย ในด้านหลักสูตร มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (x̅) เท่ากับ 2.20 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.40 และความพึงพอใจในด้านกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (x̅) เท่ากับ 2.33 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.60 และมีข้อแสอแนะให้จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ

Article Details

How to Cite
รสโสดา พ., ประพาน เ., & เลิศสพุง ส. (2021). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรม ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 7(2), 121–134. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jslc/article/view/258423
บท
บทความวิจัย

References

บริบูรณ์ พรพิบูลย์. (2535). โลกยามชราและแนวการเตรียมตัวเพื่อเป็นสุข. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟาง.

ประนอม โอทกานนท์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การปฏิบัติตนในชีวิต ประจำวันกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 1(4), 25-30.

มารศรี นุชแสงพลี. (2532). ปัจจัยที่มีอิทธิพลความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ผู้สูงอายุในชุมชนบ่อนไก่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สม.ม. (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ยุพิน อังสุโรจน์. (2543). การวิจัยเชิงผลลัพธ์เพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 12(2), 9-18

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์

ลลิลญา ลอยลม. (2545). การเตรียมตัวก่อนเกษียณของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

วรรณี ชัชวาลทิพากร, มาลินี ชลานันท์, อรพิน ฐานกุลสวัสดิ์ และดารุณี ภูษณสุวรรณศรี. (2543).พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและจังหวัดชัยนาท.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 1(5), 4-20.

ศรีทับทิม รัตนโกศล. (2527). แนวคิดการพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์. วารสารสังคมสงเคราะห์,7(1), 100-129.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2544). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมจิตต์ หนูเจริญกุล. (2537). การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ:วี.เจ.พริ้นติ้ง.

สุรีย์พันธ์ บุญวิสุทธิ์ และคณะ. (2541). ภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุไทย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 21(3), 82 – 89.