การบูรณาการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การกับการจัดการ คุณภาพภาครัฐ: กรณีศึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระบบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การระบบการจัดการคุณภาพภาครัฐ และการบูรณาการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ กับการจัดการคุณภาพของกรมอนามัยให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการทบทวนวรรณกรรมโดยนำผลมากำหนดกรอบและแนวทางการศึกษา มีการใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้การวิเคราะห์สังเคราะห์และสรุปผลเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ที่ได้รับจากการทบทวนวรรณกรรมและข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การมีองค์ประกอบที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพดำเนินงานได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมภายในองค์การ การกำหนดวัตถุประสงค์ การบ่งชี้เหตุการณ์ การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง การมีกิจกรรมควบคุม การมีข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร และการติดตามและประเมินผล สำหรับการจัดการคุณภาพภาครัฐได้แก่การนำ องค์การ การวางแผนยุทธศาสตร์ การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวัด การวิเคราะห์และจัดการความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล และการจัดการกระบวนการ ทั้งสองเครื่องมือการจัดการมีประโยชน์ต่อการสนับสนุนให้ องค์การ บรรลุเป้าหมาย และหาก องค์การ มีการพัฒนาการอย่างเป็นระบบและบูรณาการกันจะสนับสนุนการดำเนินงานเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง มีความเป็นธรรมาภิบาล
สำหรับกรมอนามัยยังมีการพัฒนาการใช้เครื่องมือการจัดการทั้งสองอย่างไม่เป็นระบบ เห็นได้จากการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ ยังขาดการกำหนดนโยบายและโครงสร้างส่วนงานที่รับผิดชอบไม่ปรากฏชัดเจนในการนำไปใช้ครอบคลุมทุกกิจกรรมสำคัญ ขาดการสื่อสารเชิงความเสี่ยง ส่วนการจัดการคุณภาพภาครัฐ ยังขาดนโยบายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อน การจัดโครงสร้างส่วนงานที่ดูแลไม่ชัดเจน และยังไม่ให้ความสำคัญกับการนำโอกาสในการปรับปรุงมาทบทวนการดำเนินงาน สำหรับการบูรณาการการใช้เครื่องมือ พบว่า กรมอนามัย ยังขาดการ ระบุ วิเคราะห์ ประเมิน จัดการและควบคุมความเสี่ยง และสื่อสารเชิงความเสี่ยงไปสนับสนุนการดำเนินงานในแต่ละหมวดของการจัดการคุณภาพภาครัฐ เพื่อเสริมให้การใช้งานเครื่องมือทั้งสองมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
จากผลศึกษา ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะให้กรมอนามัยควรมีการกำหนดนโยบายและโครงสร้างที่ชัดเจน ในการใช้เครื่องมือการจัดการทั้งสอง ผู้บริหารต้องมีบทบาทและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน มีการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาสอดแทรกในเชิงบูรณาการกับกระบวนการจัดการคุณภาพภาครัฐในทุกหมวด
ภาพภาครัฐ เพื่อเสริม ให้การใช้งานเครื่องมือทั้งสองมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
กรมอนามัย. (2551). คู่มือการประยุกต์ใช้ PMQA กรมอนามัย. กรุงเทพฯ : (ม.ป.พ.).
กรมอนามัย. (2553). รายงานสรุปผล การพัฒนาระบบราชการกรมอนามัย ปี 2547-2553. (2553). กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมอนามัย.
กรมอนามัย. (2554). งานประจำปี 2558. (2558). กรุงเทพฯ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
กรมอนามัย. (2558). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง กรมอนามัย. (2554-2558). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
พสุ เดชะรินทร์. (2549). การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Organization). ชุดเครื่องมือการเรียนรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ.
มโนชัย สุดจิตร. (2552). คู่มือการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรสำหรับพนักงาน ธ.ก.ส.. กรุงเทพฯ : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.).
มโนชัย สุดจิตร. (2557). การนำระบบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ มาสนับสนุน ประสิทธิผลการดำเนินงานในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ศึกษากรณีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) (2557). ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาการนวัตกรรมการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2554). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัด การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ 2554. กรุงเทพฯ : บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2558). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558. บริษัท วิชั่น พริ้นท์แอนด์ มีเดีย จำกัด. กรุงเทพฯ.
สุนทร พูนพิพัฒน์. (2542). รูปแบบและการประยุกต์ใช้ TQM สำหรับสถานศึกษา. วารสาร For Quality. (ฉบับเดือนมีนาคม – เมษายน 2542) ไม่ระบุโรงพิมพ์. กรุงเทพฯ.
Anderson, K., & Terp, A., (2006). Strategic risk management practice: How to deal effectively. Cambridge, UK: Cambridge University press.
Beasley, Mark S., (2006). The Impact of enterprise risk management on the internal audit function. North Carolina, USA: The enterprise risk management Initiative division North Carolina State University.
Berg, H. Peter. (2010). “Risk management: Procedures, method and experiences”. Rtrevino creative marketing (RT&A). 2 (17), 79-95.
Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO). (2004). COSO: Enterprise risk management-integrated framework. n.p.: COSO, Advisory Council.
Crockford, G.N., (1982). “The bibliography and history of risk management”. The Geneva paper on Risk and Insurance. 7 (23), 169-179.
Derrocks, VC., (2010). Risk management and value creation. (Doctoral dissertation in Business Administration), The Business School of Nelson Mandela Metropolitan University (NMMU), Port Elizabeth, Republic of South Africa.
International Organization for Standardization (ISO) 31000. (2009). Risk management principles and guidelines on Implementation. Geneva Switzerland: ISO. Customer Service.
Kimbrough, R.L., & Paul, J. Componation. (2009). “Relationship between organizational culture and enterprise risk management”. Engineering Management Journal. 4, 45-78.
Lam, Jam. (2001). Enterprise risk management: Incentives and control. San Francisco, USA: Wiley press.
Steinberg, Richard M., (2004). Enterprise risk management- integrated framework executive summary. New York: COSO advisory.