ความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่นของเทศบาล ในเขตจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธิดารัตน์ สืบญาติ

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง ความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่นของเทศบาลในเขตจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงข้อมูลพื้นฐานด้านการคลังท้องถิ่นของเทศบาลในเขตปริมณฑล 2) ศึกษาถึงความเหลื่อมล้ำ ทางการคลังท้องถิ่นของเทศบาลในเขตปริมณฑล และ 3) ศึกษาแนวทางและมาตรการทางการคลังในการลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการกำหนดนโยบายสาธารณะต่อไปเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ร่วมกับพหุกรณีศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการแบบอุปนัยกับเชิงปริมาณ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 ศึกษาถึงข้อมูลพื้นฐานด้านการคลังท้องถิ่นของเทศบาลในเขตปริมณฑล จำนวน 25 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่นของเทศบาลในเขตปริมณฑล ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการคลังท้องถิ่นจำนวน 8 คนโดยการจัดสนทนากลุ่มขั้นตอนที่ 3 ศึกษาแนวทางและมาตรการทางการคลังในการลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการคลัง โดยการใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การศึกษาพรรณนาวิเคราะห์ การสัมภาษณ์เชิงลึกการสนทนากลุ่ม และเทคนิคเดลฟาย ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) เทศบาลทั้ง 6 แห่งมีความแตกต่างในเรื่องพื้นที่ ประชากร รายได้ รายจ่าย และแผนยุทธศาสตร์/แนวทางการพัฒนา 2) ความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่นของเทศบาลในเขต ปริมณฑล เทศบาลโดยรวมมีรายได้น้อย โดยเฉพาะรายได้ที่จัดหาได้เอง ขีดความสามารถในการจัดเก็บภาษีมีข้อจำกัด อำนาจในการจัดเก็บภาษีและรายได้ของเทศบาลไม่เป็นระบบ ความสามารถในการเสียภาษีแต่ละแห่งแตกต่างกันมาก วิธีการจัดสรรเงินให้เทศบาลใช้วิธีแบ่งทีละชิ้น และเงินอุดหนุนมีลักษณะเป็นเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ซึ่งขาดความเป็นอิสระในการดำเนินงาน 3) แนวทางเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการจัดการของเทศบาล ประกอบด้วย ควรปรับปรุงเงินอุดหนุนให้แก่เทศบาล เพื่อให้เป็นระบบที่สร้างความเท่าเทียมในทางการคลัง ควรส่งเสริมให้เทศบาลพัฒนาด้านรายได้-รายจ่าย สร้างสำนึกและปลูกฝังความเป็นพลเมือง เพื่อลดปัญหาการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษี ส่วนมาตรการทางคลังในการลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแบ่งเป็นด้านการกระจายอำนาจ ด้านรายได้ ในการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม ด้านรายได้จากภาษีแบ่งหรือภาษีฐานร่วม และด้านเงินอุดหนุน

Article Details

How to Cite
สืบญาติ ธ. . (2020). ความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่นของเทศบาล ในเขตจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 13(3), 122–144. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244263
บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. 2556. ข้อมูลรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556.

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. 2552. การคลังท้องถิ่นและการกระจายอำนาจการคลังในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัณณ์ อนันอภิบุตร. 2558. นโยบายและมาตรการทางการคลังกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ : บทสำรวจความรู้. กรุงเทพฯ.

วีรชัย ชมสาคร. 2554. กฎหมายรายได้ท้องถิ่น : ก้าวต่อไปการกระจายอำนาจด้านการคลัง. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาล.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. 2552. ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ประเทศไทย. วารสารประชากรศาสตร์. 25, 2 : 69 - 87.

ศุภัช ศุภชลาศัย และคณะ. 2545. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการที่ 1 เหตุผลและความจำเป็นของการกระจายอำนาจทางการคลัง. ชุดโครงการวิจัยเรื่อง การกระจายอำนาจทางการคลัง.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. 2555. ปัญหาการคลังท้องถิ่นไทย: บทสะท้อนจากมุมมองของผู้บริหารเทศบาล. วารสารการจัดการภาครัฐและเอกชน. 19(1) : 1 - 27.

อุดม ทุมโฆสิต. 2552. การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ : บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว. กรุงเทพฯ : แซท โฟร์พริ้นติ้ง.