ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เสนอการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำของการคลังท้องถิ่น โดยใช้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นกรณีตัวอย่าง วัดความแตกต่างของรายได้ต่อหัว (ดัชนีจินี) พร้อมกับตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ รายจ่ายความริเริ่มบริการสาธารณะและโอกาสการได้รับรางวัลธรรมาภิบาลฯ โดย สันนิษฐานว่าการที่ อบจ. มีรายได้แตกต่างกันส่งผลกระทบต่อรายจ่าย นวัตกรรมโอกาสการได้รางวัลธรรมาภิบาล ผลทดสอบเชิงประจักษ์ยืนยันว่า หนึ่ง มีความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ ซึ่งจำแนกตามแหล่งรายได้ กล่าวคือ ดัชนีจินีรายได้ที่จัดเก็บเองเท่ากับ ๐.๔ ภาษีแบ่งเท่ากับ ๐.๒๘ และเงินอุดหนุนเท่ากับ ๐.๒๓ ตามลำดับ สอง เงินอุดหนุนของรัฐบาลมีแบบแผน “ยิ่งรายได้มาก-ยิ่งได้รับเงินอุดหนุนตามไปด้วย” ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักเงินอุดหนุนเพื่อความเสมอภาคสาม อบจ. ที่มีรายได้สูงมีโอกาสได้รับรางวัลธรรมาภิบาลมากกว่า อบจ. ที่รายได้น้อย สี่ รายได้และรายจ่ายมีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงยิ่ง กล่าวคือ รายได้เพิ่มขึ้น ๑๐๐% ทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้น ๙๕% ห้า รายจ่ายลงทุนและรายจ่ายค่าจ้าง ค่าตอบแทน (บุคลากร) เมื่อจำแนกตามรายได้ของกลุ่มอบจ. พบว่ามีสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนและรายจ่ายค่าจ้าง ค่าตอบแทนต่อรายจ่ายรวมไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งสวนทางกับความเชื่อที่ว่า อบจ.ที่มีฐานะรายได้ต่ำ (จน) จะมีรายจ่ายลงทุนต่ำและค่าตอบแทนบุคลากรสูงกว่า อบจ.ที่มีฐานะรายได้สูง อนึ่ง พบว่า อบจ.ที่มีฐานะรายได้สูงมีศักยภาพในการจัดสรรเงินอุดหนุนมากกว่าอบจ.ที่มีฐานะรายได้ต่ำ
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
จรัส สุวรรณมาลา. ๒๕๕๓. ประชาธิปไตยทางการคลังไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์และคณะ. ๒๕๕๒. รายงานวิจัย การประเมินกองทุนสุขภาพตำบล สนับสนุนโดย สถาบันวิจัยระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพฯ: พี.อี.ลีฟวิ่ง.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. ๒๕๕๓. การคลังท้องถิ่น: รวมบทความวิจัยเพื่อเพิ่มพลังให้ท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: พี.อี.ลีฟวิ่ง.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และพิชิตรัชตพิบุลภพ. ๒๕๕๖. การคลังท้องถิ่นและการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ๑๑ (๑):๑๑๑-๑๓๕.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. ๒๕๕๖. ถอดรหัสการจัดเก็บภาษีอากรของท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Boadway, Robin. 2007. Compensating Local Government for Differences in Expenditure Needs in aHorizontal Fiscal Equalization Program. In Handbook of Intergovernmental FiscalTransfers: Principles and Practice. AndrewReschovkey (ed.). Washington, D.C.: The World Bank.
Boadway, Robin and Anwar Shah. 2009. Fiscal Federalism, Principles and Practice of Multiorder Governance. Cambridge: Cambridge University Press.
Charles M. Tiebout 1956. A Pure Theory of Local Expenditures. The Journal of Political Economy. 64 (5): 416-424.
DirekPatmasiriwat. 2012. Fiscal Inequality and Grant Allocation: Provincial Analysis of Thailand’s Local Government Finance. In Handbook of Local Governments in a Global Context.
Peerasit Kamnuansilpa and Bonnie Pacala Brereton (eds.). College of Local Administration, KhonKaen University: 91-115.
Eckardt, Sebastian and Anwar Shah. 2006. “Indonesia,” in Local Governance in Developing Countries. (eds.). by Anwar Shah, Washington, D.C.: World Bank.
Jameson Boex and Jorge Martinez-Vazquez. 2004. Designing Intergovernmental Equalization Transfers with Imperfect Data: Concepts, Practices, and Lessons. In Handbook of Fiscal Equalization: Challenges in the Design of Intergovernmental Transers. Jorge Martinez-Vazquez and Bob Searle eds. Springer Science+Business Media, Inc.: New York.
Lerman, R. I., and S. Yitzhaki. 1985. Income Inequality Effects by Income Source:A New Approach and Applications to the United States. Review of Economics and Statistics. 67: 151-156.
Roy Bahl. 2000. Intergovernmental Transfers in Developing and Transition Countries: Principles and Practice. World Bank.
Shah, Anwar 2006. The new vision of local governance and the evolving roles of local governments,” in Local Governance in Developing Countries (ed.). Anwar Shah, Washington, D.C.: World Bank.
Wallace oates 1972. Fiscal Federalism. Harcourt Brace Jovanovich: New York.