เครือข่ายธุรกิจ ของนักการเมืองไทย
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยเรื่องเครือข่ายธุรกิจของนักการเมืองไทยมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจต่างๆ ที่ได้รับโครงการของรัฐที่มีมูลค่าสูงของแต่ละกระทรวงในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ไปดำเนินการ และ ๒) ศึกษารูปแบบเครือข่ายความสัมพันธ์ของเครือข่ายนักธุรกิจ นักการเมือง และโครงการจัดซื้อจัดจ้างในกระทรวงต่างๆ รวมทั้งโอกาสในการดำเนินโครงการรัฐของบริษัทเหล่านั้น งานวิจัยนี้อาศัยระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการของรัฐที่มีมูลค่าของการจัดซื้อจัดจ้างเกิน ๑๐ ล้านบาทขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ซึ่งรวบรวมได้จากกรมบัญชีกลางร่วมกับฐานข้อมูลธุรกิจที่จดทะเบียน และรายชื่อกรรมการผู้บริหารของกรมพัฒนาเศรษฐกิจ กระทรวงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า มีการกระจายโครงการอย่าง
ผิดปกติของบางกระทรวงซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้มีอำนาจตัดสินใจภาครัฐบางกลุ่ม กับผู้ได้รับโครงการไปดำเนินการภาคเอกชนบางรายอันเป็นหลักฐานการดำรงอยู่ของเครือข่ายธุรกิจการเมือง และมีแนวโน้มว่าในอนาคตกลุ่มธุรกิจการเมืองจะยังคงมีบทบาททางการเมืองต่อไป และมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากพรรคการเมืองต่างๆ ยังคงต้องการทุนสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการเมือง เพื่อชนะการเลือกตั้ง ขณะเดียวกันเมื่อนักการเมือง และพรรคการเมืองเหล่านี้เข้าสู่อำนาจก็จะหาโอกาสต่างตอบแทนผลประโยชน์กับกลุ่มทุนธุรกิจ ดังนั้นการป้องกันและรู้เท่าทันความซับซ้อนของธุรกิจการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศจึงมีความสำคัญ และต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม ในการร่วมกันตรวจสอบดูแลสิทธิประโยชน์ของประชาชน และประเทศชาติ
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. ๒๕๒๒. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองกับการรวมอำนาจทางเศรษฐกิจโดยเอกชนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีรภัทธ์ เสรีรังสรรค์. ๒๕๔๙. นักการเมืองไทย: จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอร์รัปชั่น สภาพ ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไข. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.
นคร เสรีรักษ์. ๒๕๒๙. นักธุรกิจในการเมืองไทย: กรณีศึกษามูลเหตุจูงใจให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประเวศ วะสี. ๒๕๔๙. จากหมอประเวศ ถึง ทักษิณ. กรุงเทพฯ: มติชน.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร. ๒๕๔๙. การต่อสู้ของทุนไทย ๑: การปรับตัวและพลวัตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
รัตพงษ์ สอนสุภาพ และประจักษ์ น้ำประสานไทย. ๒๕๔๖. Thanksino’s Model ปฏิรูปความมั่งคั่งสู่ฐานอำนาจใหม่. กรุงเทพมหานคร: สุพรีเรียพริ้นติ้งเฮาส์.
วิสุทธิ์ ธรรมวิริยะวงศ์. ๒๕๔๓. ชนชั้นนำทางธุรกิจกับการเมืองไทย ศึกษาเฉพาะกรณีการเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยตรง. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. ๒๕๕๐. “ผลประโยชน์ทับซ้อน: แนวคิดและแนวทางการป้องกันแก้ไข.” วารสารร่มพฤกษ์, ๒๕ (๓): ๓๑-๕๖
สังศิต พิริยะรังสรรค์. ๒๕๔๙. ทฤษฎีการคอร์รัปชั่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน.
สุริยะใส กตะศิลาและรจิตกนก จิตมั่นชัยธรรม. ๒๕๔๕. การผูกขาดทางธุรกิจกับการเมือง: การสร้างแนวร่วมในการผลักดันนโยบายแข่งขันทางการค้า. รายงานนำเสนอต่อธนาคารโลก.
อภิพันธ์ ชี้เจริญ. ๒๕๓๙. บทบาทรัฐกับการชักนำกลุ่มธุรกิจให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรทัย ก๊กผล. ๒๕๔๗. “ผลประโยชน์ทับซ้อนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.” วารสารสถาบันพระปกเกล้า, ๒ (๑): ๗๑-๙๐.
Anek Laothamatas. 1988. “Business and Politics in Thailand: New Patterns of Influence.” AsianSurvey, 28 (4): 451-470.
Becker, David. 1990. “Business Association in Latin America: The Venezuelan Case.” Comparative Political Studies, 2 (1): 114–18.
Breton, A. 1998. Competitive Governments: An Economic Theory of Politics and Public Finance. New York: Cambridge University Press.
Dye, Thomas R., 2002. Power and Society: An Introduction to the Social Science, 9th ed., Forth Worth, Harcourt college.
Heilman, Bruce and John Lucas. 1997. “A Social Movement for African Capitalism? A Comparison of Business Associations in Two African Cities.” African Studies Review, 40 (2): 141–171.
Lindblom, Charles E. 1977. Politics and Markets. New York: Basic Books.
Lucas, John. 1997. ‘The Politics of Business Associations in the Developing World’. Journal of the Developing Areas, 32 (1): 71–96.
Moore, Mick and Ladi Hamalai. 1993. “Economic Liberalization, Political Pluralism and Business Associations in Developing Countries.” World Development, 21 (12): 1895–1912.
ข้อมูลบริษัท ซิลลิคฟาร์ม่า จำกัด. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ จาก http://www.zuelligpharma.com
ข้อมูลบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ จาก http://www.dksh.co.th
ชมรมคนรักษ์สตึก. ๒๕๔๖. รายงานวิจัยสืบค้นกรณีทุจริตคอร์รัปชั่นเรื่องถอดบทเรียนคนรักษ์สตึก: ขุดรากเครือข่ายผลาญชาติ. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ จาก http://www.oknation.net/blog/Anti-Corruption/2007/03/03/entry-5.
ทีมข่าวอาชญากรรม. ๒๕๕๕. “คดีปริศนา!ปล้นบ้านปลัดคมนาคม.” ผู้จัดการออนไลน์, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ สืบค้นเมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ จาก http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000147610
ปัญหาสร้างโรงพักไม่เสร็จ.” ไทยพีบีเอส, ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ . สืบค้นเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ จาก http://news.thaipbs.or.th/video/
“เปิดผลสอบชุดหมอบรรลุ น้ำขึ้นให้รีบตัก (ตอน ๑).” มติชนออนไลน์, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1262139402&grpid=01&catid=02
“ว่าด้วยทุจริตรถพยาบาลฉุกเฉิน.” สงขลาพอเพียง, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ จาก http://www.songkhlahealth.org/paper/224
“ล้มสัญญา ๓๙๖ โรงพัก ไม่เปิดเผย’เสียหาย’ ชง ‘บก.ภ.จว.’ จ้างเอง.” มติชนรายวัน, ๑๘ เมษายน ๒๕๕๖. สืบค้นเมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๖ จาก http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?newsid=01p0111180456§ionid=0101&selday=2013-04-18
สุทธิชัย หยุ่น. ๒๕๔๙. “ธนกิจการเมือง...ที่ปล้นชาติไปเป็นหมื่นแสนล้านยังเป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง.” สืบค้นเมื่อ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ จาก http://www.oknation.net/blog/black/2006/12/22/entry-11