บทบาทของวุฒิสภา ในการพัฒนาจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภา
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการพัฒนาด้านจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รูปแบบพฤติกรรมในการพัฒนาจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภา ปัญหา และอุปสรรคและเสนอแนวทางในการพัฒนาจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาในอนาคต
การศึกษาในเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ในการพัฒนาจริยธรรม รูปแบบพฤติกรรมตลอดจนข้อเสนอแนะในการพัฒนาจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภา ข้อมูลที่ได้รับได้จากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (participatory) การสนทนากลุ่ม (focus group discussion)และการวิจัยเอกสาร (documentary research) สำหรับผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อค้นพบโดยสรุป ๒ ประการ กล่าวคือ
ประการแรก การศึกษาการพัฒนาด้านจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันนั้น พบว่าสมาชิกวุฒิสภาปัจจุบันแบ่งออกเป็นกลุ่มที่สำคัญ ได้แก่กลุ่มที่มาจากการเลือกตั้งและเป็นกลุ่มที่เห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญเนื่องจากประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งเข้ามาและจะมีการลงมติอย่างไร้อคติและมีความเป็นกลาง และกลุ่มที่มีการลงมติในลักษณะบอกตามกันมาหรือทำตามความต้องการของกลุ่มของตนเป็นสำคัญ การแบ่งกลุ่มของสมาชิกวุฒิสภานั้นเป็นประเด็นทางจริยธรรมตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ระบุให้สมาชิกวุฒิสภานั้นต้องเป็นกลางเนื่องจากมีอำนาจและหน้าที่ในการเป็นผู้เลือกตั้งองค์กรอิสระทั้งหลาย จากการให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาเลือกองค์กรอิสระนั้นจึงส่งผลต่อการถูกตรวจสอบของวุฒิสภามากขึ้นกว่าในอดีต โดยผู้ที่เป็นวุฒิสภาปัจจุบันต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าในอดีตเพราะเป็นผู้ไปแต่งตั้งองค์กรอิสระของประเทศ
ประการที่สอง แม้ว่าในข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ.๒๕๕๓ จะระบุให้มีคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภาในการควบคุมจริยธรรมสมาชิกวุฒิสภา แต่มีหลายกรณีที่สมาชิกวุฒิสภามีพฤติกรรมฝ่าฝืนและละเมิดจริยธรรมที่กำหนด จึงมีการยื่นให้คณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภาตรวจสอบ แต่คณะกรรมการจริยธรรมกลับไม่มีบทบาทในการดำเนินการลงโทษสมาชิกวุฒิสภาที่ทำผิดจริยธรรมได้อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากการตรวจสอบจริยธรรมของวุฒิสภานั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการที่วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมด้วยโดยทางคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภาได้ตระหนักถึงประเด็นนี้อย่างมาก จึงมีการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมฉบับดังกล่าวในประเด็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
และยกเลิกกระบวนการสอบสวนและวิธีพิจารณาสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน โดยได้กำหนดให้ส่งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินการแทน
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
คณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา. ๒๕๕๓ สรุปแนวทางการดำเนินงานเชิงรุกด้านการประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา. กรุงเทพมหานคร : สำนักเลขาธิการวุฒิสภา.
คณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา. ๒๕๕๔. พัฒนาการด้านจริยธรรมของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักเลขาธิการวุฒิสภา.
คณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา. ๒๕๕๕. รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา (ตั้งแต่ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
คณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา. ๒๕๕๖. แผนปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
นิยม รัฐอมฤต และคนอื่นๆ. ๒๕๕๒. จรรยาบรรณสำหรับสมาชิกรัฐสภา : การศึกษาเปรียบเทียบ. นนทบุรี : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
“ปธ.กก.จริยธรรมวุฒิฯ ตั้งธง ๑๘ ต.ค. หารือฟัน ศรีสุข,” พิมพ์ไทย. (๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔) : ๒.
“ศาลรธน. พิพากษา ๑๐ ส.ว.,” สยามรัฐ. (๓๐ มีนาคม ๒๕๔๔) : ๕.
“ส.ว.ที่เพรียกหามโนธรรม-สปิริต ล้วนแต่จอมปลอม,” ผู้จัดการรายวัน. (๒๘ มีนาคม ๒๕๔๔) : ๙.
ทีมข่าวการเมือง. “หลายก๊กป่วน “สภาสูง” แย่งเก้าอี้ประธานวุฒิฯ,” [ออนไลน์]. ๒๕๕๕. ผู้จัดการออนไลน์. แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx? [๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕]
โกวิท ภักดีภูมิ. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๓ เมษายน ๒๕๕๕.
คำนูณ สิทธิสมาน. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๔ เมษายน ๒๕๕๕.
จงรัก จุฑานนท์. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๔ เมษายน ๒๕๕๕.
จิตต์ มุกดาธนพงศ์. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๒ เมษายน ๒๕๕๕.
ธีระ สุวรรณกุล. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๒ เมษายน ๒๕๕๕.
นิลวรรณ เพชระบูรณิน. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๔ เมษายน ๒๕๕๕.
ประสงค์ นุรักษ์. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๒ เมษายน ๒๕๕๕.
ปรียพรรณ ศรีธวัช. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๒ เมษายน ๒๕๕๕.
พิสิฐ เกตุผาสุก. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๒ เมษายน ๒๕๕๕.
ไพบูลย์ ซำศิริพงษ์. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๓ เมษายน ๒๕๕๕.
มาโนช ไกรวงศ์. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๔ เมษายน ๒๕๕๕.
ยุทธนา ยุพฤทธิ์. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๓ เมษายน ๒๕๕๕.
รัชกฤต กาญจนวัฒน์. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๒ เมษายน ๒๕๕๕.
วรวิทย์ บารู. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๓ เมษายน ๒๕๕๕.
วันชัย สอนศิริ. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๓ เมษายน ๒๕๕๕.
สุธรรม พันธุศักดิ์. สมาชิกวุฒิสภา. สัมภาษณ์, ๓ เมษายน ๒๕๕๕.