ต้นแบบการบริหารจัดการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยเรื่อง “ต้นแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ๓) เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาพัฒนาเป็นต้นแบบ (Prototype) การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีกรณีศึกษาที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ในเขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ๒) เทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ๓) เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ๔) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และ๕) องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีกระบวนการบริหาร แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และหลักธรรมาภิบาลเป็นกรอบในการวิจัย และทำการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดสนทนากลุ่มจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน ๕๐ คน และทำการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสนับสนุนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวัดความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง ๕ แห่ง จำนวน ๘๒ คน
ผลการศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมของกรณีศึกษา สามารถนำมาสรุปเป็นต้นแบบ(Prototype) การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยได้ ๙ ประการ ได้แก่ ๑) มีผู้นำองค์กรดี ๒) มีการมีส่วนร่วม ๓) มีการบริหารจัดการครบถ้วนสมบูรณ์ ๔) มีการพัฒนาท้องถิ่น แก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต ๕) มีจิตใจ “ธรรมาภิบาล” ๖) มีความสามัคคีปรองดอง ๗) มีนวัตกรรม ๘) มีมาตรฐาน และ ๙) มีต้นทุนที่ดี ซึ่งต้นแบบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ให้มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
โกวิทย์ พวงงาม และคนอื่นๆ. ๒๕๕๔. รายงานการประเมินโครงการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อรับเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
โกวิทย์ พวงงาม และคนอื่นๆ. ๒๕๔๘. การปกครองท้องถิ่นไทย พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. ๒๕๕๒. การบริหารจัดการงานท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ไทยประสานการพิมพ์.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. ๒๕๓๙. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.
ไชยวัฒน์ ค้ำชู และคนอื่นๆ. ๒๕๔๕. ธรรมาภิบาล การบริหาร การปกครองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรม. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.
ตุลา มหาพสุธานนท์. ๒๕๕๔. หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งส์.
บูฆอรี ยีหมะ. ๒๕๕๑. การปกครองท้องถิ่นไทย พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชสิรี ชมภูคำ. ๒๕๕๒. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.
พิชาภพ พันธุ์แพ. ๒๕๕๒. ผู้นำและการจัดการการเปลี่ยนแปลง Leadership and Change Management. พิษณุโลก: D.K.Copy.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. ๒๕๕๒. องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.
มอบรางวัลบริหารจัดการที่ดี. ๒๕๕๕, ๑๐ กุมภาพันธ์. มติชนรายวัน.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. ๒๕๔๙. การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
วิชชุกร นาคธน. ๒๕๔๙. ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วิเชียร วิทยอุดม. ๒๕๕๐. ภาวะผู้นำ Leadership (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. ๒๕๕๐. หลักการจัดการ Principles of Management (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.
สถาบันพระปกเกล้า. ๒๕๕๒. ทศธรรม : ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สถาพร ปิ่นเฉลียว. ๒๕๕๔. ภาวะผู้นำกับการจัดการ. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. ๒๕๕๐. กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สมภพ ระงับทุกข์. ๒๕๕๔. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: เกศิณี.
อรทัย ก๊กผล. ๒๕๔๖. Best Practices ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
Bateman, T.S., & Zelthmal, C.P. 1993. Management Function & Strategy. Homewood, IL: Richard D. Irwin, Inc.
Daft, R.L. 2001. The Leadership Experience. Orlando: Harcourt College.
Debra, L., & Quick, J.C. 1997. Organization Behavior. West Publishing Company.
Dubrin, A.J., & Ireland R.D. 1993. Management &Organization 2nd ed.. Ohio: South-Western Publishing Co,.
Heywood, A. 2002. Politics 2nd ed.. New York: Palgrave.
Holt, D.H. 1993. Management Principles and Practice. New Jersey: Prentice-Hall.
Koontz, H., O’Donnell, C. and Weihrich, H. Management 8th ed.. Auckland : McGraw-Hill International, 1984.
Likert, R. 1961. New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.
Luthans, F. 1992. Organizational Behavior. Singapore: Mc Graw-Hill Book Co-Singapore.
Robbins, S.P. 1993. Organization Behavior 6th ed.. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Robbins, S.P., & Coulter, M. 1999. Management 6th ed.. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Schermerhorn, J.R. 2008. Management 9th ed.. New York: John Wiley & Sons.
Smith, B.C. 1985. Decentralization. London: George Allen & Unwin Publishers Ltd.
Weihrich, H., & Koontz, H. 2005. Management : A Global Perspective 11th ed.. New York: McGraw-Hill.
Wilson, D., & Game, C. 1998. Local Government in the United Kingdom 2nd ed.. London: Macmillan Press.
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ๒๕๕๕. ผลการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔. ค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕, จาก http://www.dlop.opm.go.th
วุฒิสาร ตันไชย. ม.ป.ป.. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐. ค้นเมื่อ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕, จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/35389