สภาองค์กรชุมชน : การเมืองใหม่และการท้าทายต่อกลุ่มอำนาจ ในท้องถิ่น

Main Article Content

Ratchanee Pradap

Abstract

     บทความเรื่อง “สภาองค์กรชุมชน: การเมืองใหม่และการท้าทายต่อกลุ่มอำนาจในท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและอภิปรายเกี่ยวกับ “สภาองค์กรชุมชน” ในฐานะเป็นกระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะในการปกครอง (Art of government) ของรัฐไทยสมัยใหม่และมีลักษณะเป็นการบริหารจัดการชีวิตประชาชนอย่างลึกซึ้ง (governmentality) ในขณะเดียวกันสภาองค์กรชุมชนก็ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเมืองในระดับท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ สภาองค์กรชุมชนในฐานะองค์กรการเมืองใหม่มีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรการเมืองในท้องถิ่นทั้งในด้านที่แสดงความขัดแย้งและด้านที่ประสานความร่วมมือกัน โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวได้ว่าเป็นผลมาจากปฏิบัติการขององค์กรชุมชนในการเพิ่มพลังอำนาจให้กับประชาชน (Empowerment) การพัฒนาความสามารถและศักยภาพให้กับผู้นำชุมชน การสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนข้ามพื้นที่ และการกระตุ้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเมืองในชีวิตประจำวันของ
ผู้คนที่ตื่นตัวต่อการพัฒนาตนเอง ซึ่งเกิดขึ้นจากการเรียนรู้และจากประสบการณ์ที่ก้าวหน้าของพวกเขากันเอง

Article Details

How to Cite
pradap, ratchanee . (2020). สภาองค์กรชุมชน : การเมืองใหม่และการท้าทายต่อกลุ่มอำนาจ ในท้องถิ่น. King Prajadhipok’s Institute Journal, 11(2), 113–128. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244366
Section
Original Articles

References

ดาริน อินทร์เหมือน. ๒๕๕๔. “ทุนทางสังคม ประชาสังคม กับการปฏิรูปประชาธิปไตย” ฟ้าเดียวกัน ๙:๑ (มกราคม-มีนาคม).

ยุกติ มุกดาวิจิตร. ๒๕๕๓. “ชนชั้นใหม่ ชนบทใหม่ และท้องถิ่นใหม่ บททบทวนวรรณกรรมว่าด้วยการเมืองไทยทศวรรษ ๒๕๓๐-๒๕๕๐.” ฟ้าเดียวกัน ๘: ๒ (ตุลาคม – ธันวาคม).

ประจักษ์ ก้องกีรติ. ๒๕๕๔. “ประชาสังคม ความรุนแรงและการล่มสลายของประชาธิปไตย ความสำคัญของแนวคิดเรื่องความมีอารยะและการเมืองแบบอารยะของเอ็ดเวิร์ด์ ชิลล์.” ฟ้าเดียวกัน ๙: (มกราคม-มีนาคม).

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. ๒๕๕๓. “การลุกขึ้นสู้ของคน “ยอดหญ้า”: บทวิเคราะห์ในเชิงมิติการเมือง” RED WHY แดงทำไม. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง และคณะ. ๒๕๕๕. กระบวนการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชน: ก้าวย่างผ่านปัญหา มุ่งหาความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

ประเวศ วะสี. ๒๕๔๙. “การเมืองสมานฉันท์ สร้างสรรค์ความเข้มแข็งท้องถิ่น” ใน ต้นทางชุมชน ชุมชนประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. ๒๕๔๙. “การเมืองสมานฉันท์: หนทางสู่การแก้ไขความขัดแย้งในสังคมสองขั้ว” ต้นทางชุมชน ชุมชนประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.

พลเดช ปิ่นประทีป, บรรณาธิการ. ๒๕๕๑. ชุมชนเข้มแข็งและประชาสังคม: ๒๐ปี มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. ๒๕๔๒. ประชาสังคมในมุมมองตะวันตก: ประสบการณ์จากการอ่านและสอนที่จอห์นส์ ฮอปกินส์. กรุงเทพฯ: สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. ๒๕๕๒. แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน: สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. ๒๕๕๓. ประชาธิปไตยชุมชน: รัฐศาสตร์สำหรับสภาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

Burchell, Graham, Colin Gordon and Peter Miller, Editeds. 1991. The Foucault Effect: Studies in Governmentality. Chicago: University of Chicago Press.

Dean, Mitchell. 1999. Governmentality: Power and Rule in Modern Society. London: Sage Publications.

Putnam, Robert D. 1993. Making democracy work: Civic traditions in modern Italy. with Robert Leonardi and Rafaella Y. Nanetti. Princeton: Princeton University press.

Rose, Nikolas. 1993. “Government, authority and expertise in advanced liberalism”. Economic and Society Vol.22, no. 3 August.

จันทนา เบญจทรัพย์. ๒๕๕๔. “จากวิกฤตลุ่มน้ำโขง สู่การบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนท้องถิ่น สภาองค์กรชุมชนตำบลเวียงคุก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย”. พลังชุมชนท้องถิ่นจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑.

พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑.

พรรณทิพย์ เพชรมากและคณะ. ๒๕๕๒. ขวบปีที่ผ่านมากับการสานสร้างสภาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). รายงานผลการดำเนินงานส่งเสริมการจัดตั้งและพัฒนากิจการสภาองค์กรชุมชนตำบลประจำปี ๒๕๕๕ (เอกสารถ่ายสำเนา).

“แถลงการณ์สมัชชาสภาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทยค้านมหาดไทยปลุกม็อบต้านร่างพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน”, ประชาไทออนไลน์, แหล่งที่มา http://prachatai.com/journal/2007/06/13079, สืบค้น ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐.