ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศไทย: นัยยะทางการเมืองการปกครอง และธรรมาภิบาลในมิติภูมิภาค

Main Article Content

Kajit Jittasevi

Abstract

     ประเด็นใหญ่ทางการต่างประเทศสาหรับประเทศไทยในต้นศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่ โครงการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หนึ่งในมิติของประชาคมอาเซียนร่วมกับการเมืองและความมั่นคง และสังคมและวัฒนธรรม การมุ่งบรรลุเป้าหมาย AEC ปี ค.ศ. ๒๐๑๕ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและความกังวลเกี่ยวกับอาเซียนซึ่งจะมีอายุครบ ๔๘ ปีในปีนั้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งที่กระแสโลกและกระแสภูมิภาคโดยเฉพาะหลังสงครามเย็นได้ผลักดันให้เกิดการสร้างเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มานับแต่ ค.ศ. ๑๙๙๒ รวมเป็นเวลา ๒๐ ปีแล้ว ณ วันนี้AEC จึงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นขั้นตอนสาคัญที่จะผลักดันกระบวนการบูรณาการเชิงลึกให้สมาคมอาเซียนก้าวขึ้นสู่ประชาคมอาเซียน ข้อกังวลเรื่อง AEC มักจะอยู่ที่การได้เปรียบเสียเปรียบของสมาชิกเช่นกรณีประเทศไทยว่า จะได้หรือเสียอะไรเมื่อเทียบกับสมาชิกอื่น มากกว่าจะอยู่ที่ผลได้ร่วมกันของทั้ง ๑๐ ประเทศในการแข่งขันระดับโลก อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ผลการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์บ่งชี้ว่า โครงการ AEC ๒๐๑๕ ยังไม่ก้าวหน้าดังควรและผลกระทบเชิงบวกหรือลบต่อสมาชิกเช่นไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบในอันดับต้นๆ นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละสาขาและที่สาคัญ คือ วิธีการปรับตัวสร้างความพร้อมของประเทศไทยนั่นเอง


     ในปัจจุบันเรายังอาจจะยังไม่ได้ประเมินความสาคัญและผลของโครงการสร้างประชาคมภูมิภาคในนามของประชาคมอาเซียนครั้งนี้ตามความเป็นจริง ประสบการณ์การรวมกลุ่มภูมิภาคในโลกโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความก้าวหน้าในการบูรณาการทางเศรษฐกิจ แสดงให้เห็นว่า ในกระบวนการดังกล่าวประเทศต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะการบริหารจัดการและการเมืองการปกครองซึ่งอาจจะรวมเรียกได้ว่า ปรับระบบการอภิบาลหรือระบบธรรมาภิบาล (governance) เพื่อให้สอดรับกับการก่อตัวของระบบธรรมาภิบาลภูมิภาคซึ่งในกรณีของอาเซียน คือ ระบบธรรมาภิบาลอาเซียน (Aseangovernance) บทความนี้มุ่งนาเสนอสถานะ โอกาส-อุปสรรค และทิศทางสาหรับประเทศไทยดังที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันใน AEC โดยคานึงถึงนัยยะทางการเมืองการปกครองและธรรมาภิบาลอันเป็นมิติสาคัญยิ่งสาหรับความชอบธรรมของโครงการ AEC เพราะโครงการนี้จะส่งผลทั้งทางกว้างและเชิงลึกแก่สังคมไทยโดยรวมอย่างเลี่ยงไม่ได้โดยที่ลาพังรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารไม่อาจดูแลและเป็นตัวแทนของประชาชนได้ในทุกด้าน การเมืองภาคตัวแทนในสภาอาจจะสามารถเข้ามามีบทบาทดังกล่าวเพื่อให้ประชาคมอาเซียนเป็นวาระของทั้งชาติและประชาชน จากนั้นจะเป็นการสารวจเบื้องต้นเกี่ยวกับประเด็นสาคัญ คือ นัยยะของประชาคมอาเซียนต่อท้องถิ่นในฐานะพื้นที่รองรับกิจการและผลสืบเนื่องทั้งหลายว่า จะมีหนทางสร้างสมรรถนะแก่ตัวแสดงระดับท้องถิ่นในการระบุภาระ วาระ และนโยบายในระดับท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่? อย่างไร? อนาคตของประเทศไทยในประชาคมอาเซียนส่วนหนึ่งจะอยู่ที่ความสามารถในการเชื่อมโยงและจัดการความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ซึ่งในทุกระดับจะมีประชาชนเป็นทั้งตัวแสดงและเดิมพันของความสาเร็จหรือความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้น

Article Details

How to Cite
jittasevi, kajit . (2020). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศไทย: นัยยะทางการเมืองการปกครอง และธรรมาภิบาลในมิติภูมิภาค. King Prajadhipok’s Institute Journal, 10(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244396
Section
Original Articles

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. ถาม-ตอบ รอบรู้ AEC ๓๖๐°. นนทบุรี: ผู้แต่ง, ๒๕๕๕.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. นนทบุรี: ผู้แต่ง, ๒๕๕๒.

กรมอาเซียน. บันทึกการเดินทางอาเซียน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง, ๒๕๕๒.

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ ๘ แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๕๕.

ขจิต จิตตเสวี. “ประชาคมยุโรป และ ‘ตลาดเดี่ยว ๑๙๙๒’: การเมืองและเศรษฐกิจก้าวใหม่ในการรวมตัวของประชาคมยุโรป,” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, ๘:๔ (ธันวาคม ๒๕๓๓), น. ๘๙-๑๒๘.

ขจิต จิตตเสวี. อาณาบริเวณชายแดนไทยในศตวรรษที่ ๒๑: ปัญหาและบริบทใหม่ของนโยบายต่างประเทศไทยต่อเพื่อนบ้าน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒.

ขจิต จิตตเสวี. โครงการ นโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในปัจจุบัน: ประเทศไทยบนเวทีโลกและเวทีโลกในประเทศไทยในต้นศตวรรษที่ ๒๑. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ๒ เล่ม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), ๒๕๕๓.

ขจิต จิตตเสวี. องค์การระหว่างประเทศ (องค์การระหว่างประเทศในกระแสโลกาภิวัตน์และภูมิภาคาภิวัตน์). พิมพ์ครั้งที่ ๒ แก้ไขปรับปรุง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๕๓.

ขจิต จิตตเสวี. ธรรมาภิบาลโลก: หลักการ องค์การ และกระบวนการของโลกาธรรมาภิบาล. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๕๔.

ขจิต จิตตเสวี. “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับ ‘ถิ่นฐานาภิวัตน์’ (Localization) ของท้องถิ่นไทย: ข้อคิดเบื้องต้นบางประการว่าด้วย ‘ภาระและวาระอาเซียนของท้องถิ่น’”, ใน สถาบันพระปกเกล้า, วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น. เอกสารประกอบการสัมมนาเวทีท้องถิ่นไทย ประจาปี ๒๕๕๕: ท้องถิ่นไทย Out of the Box. เล่ม ๑, หัวข้อ “ไม่รู้ไม่ได้แล้ว...ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับท้องถิ่นไทย”. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง, ๒๕๕๕, น. ๒๑-๒๖. (การประชุมประจำปีของวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการฯ กรุงเทพฯ, ๖-๗ กันยายน ๒๕๕๕).

จุลสารจับตาอาเซียน (ASEAN Watch) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), ๑:๓ (มิถุนายน-กันยายน ๒๕๕๕), บทความพิเศษเรื่อง “ครึ่งทาง AEC: ‘สอบได้’ หรือ ‘สอบตก’? บทวิเคราะห์การประเมินผลความก้าวหน้าผ่าน AEC Scorecard,” น. ๓๐-๓๗ (สรุปโดย จิตทิพย์ มงคลชัยอรัญญา).

ชาติชาย เชษฐสุมน. ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community): ผลกระทบต่อกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555.

ประภัสสร์ เทพชาตรี. ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม, ๒๕๕๔.

พิษณุ สุวรรณะชฎ. สามทศวรรษอาเซียน (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กาญจนี ละอองศรี, บรรณาธิการ). ได้รับทุนอุดหนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๐.

ไพศาล หรูพาณิชย์กิจ. เอเชียตะวันออกบนเส้นทางสู่การเป็นประชาคม. ได้รับทุนอุดหนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๓.

วุฒิสาร ตันไชย. คิดดังยกกำลังสอง กับวุฒิสาร ตันไชย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๕๒.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). บทความและเอกสารประกอบการนำเสนอในการสัมมนาวิชาการประจำปี ๒๕๕๕ เรื่อง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: มายาคติ ความเป็นจริง โอกาสและความท้าทาย” จัดโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕. ซึ่งประกอบด้วย

- สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, เสาวรัจ รัตนคาฟู, สุนทร ตันมันทอง, และ พลอย ธรรมาภิรานนท์, “ประเทศไทยในกระแส AEC: มายาคติ ความเป็นจริง โอกาสและความท้าทาย”

- เชษฐา อินทรวิทักษ์, สุเมธ องกิตติกุล, และ ณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล, “การค้าสินค้าและการอานวยความสะดวกทางการค้า”

- เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, และ วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี, “AEC กับการปฏิรูปสาขาบริการ”

- สมชัย จิตสุชน, “AEC กับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและช่องว่างทางรายได้”

“สรุปการอภิปรายกลุ่มย่อยที่ ๔ การสร้างความสมดุลระหว่างการเมืองภาคตัวแทนและภาคประชาชน,” การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ ๑๓ เรื่อง “ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย”, ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ, ๒๒-๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ (สรุปโดย ขจิต จิตตเสวี).

“สรุปการอภิปรายกลุ่มย่อยที่ ๑ บทบาทด้านนิติบัญญัติของรัฐสภา,” การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ ๑๔ เรื่อง “การปฏิรูปรัฐสภา: มุมมองเชิงเปรียบเทียบ”, ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ, ๘-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ (สรุปโดย ขจิต จิตตเสวี).

เสน่ห์ จามริก. สิทธิมนุษยชนไทยในกระแสโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (สทพ.), ๒๕๔๙. (บทสังเคราะห์จากผลการวิจัยชุดโครงการ “สิทธิมนุษยชนไทยในสถานการณ์สากล” โดยการสนับสนุนของ สกว.)

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์. การเมืองในกระบวนการกระจายอานาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของนักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน. กรุงเทพฯ: โครงการตาราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๕.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. โครงการการปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติของไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, ได้รับทุนสนับสนุนโดย แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ๒๕๕๕.

สายทิพย์ เชาวลิตถวิล. บทบาทของสมัชชารัฐสภาอาเซียนในการเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการทูต (นบท.) รุ่นที่ ๔, สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ, เอกสารไม่ตีพิมพ์, ๒๕๕๕. โดยมี รศ. ดร. ขจิต จิตตเสวี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา.

สุรินทร์ พิศสุวรรณ. อาเซียน รู้ไว้ ได้เปรียบแน่ (สุกัญญา มกราวุธ, เรียบเรียง). พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, ๒๕๕๕.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. เมื่อโลกใหม่ไม่ใช่ใบเดิม. กรุงเทพฯ: การเงินการธนาคาร, ๒๕๕๓.

สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘” ครั้งที่ ๒, ที่ทำเนียบรัฐบาล, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕.

สำนักเลขาธิการอาเซียน. AEC Factbook. สรุปคำแปลเป็นภาษาไทยโดย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. กรุงเทพฯ: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, ๒๕๕๔.

สำนักเลขาธิการอาเซียน. กฎบัตรอาเซียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานสำนักเลขาธิการอาเซียนประจาประเทศไทย, ม.ป.ป.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน. ปรับปรุงข้อมูลครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง, ๒๕๕๕.

อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช. อาเซียนกับกระบวนการสร้างสถาบัน: จาก “ปฏิญญากรุงเทพฯ ๑๙๖๗” ถึง “กฎบัตรอาเซียน ๒๐๐๘”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, สาขาวิชาการระหว่างประเทศและการทูต, (อยู่ระหว่างดาเนินการ) โดยมี รศ. ดร. ขจิต จิตตเสวี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์. ผลการศึกษาส่วนหนึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ใน อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช, “ประชาคมอาเซียน: กระบวนการสร้างสถาบัน”, รายงานการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ หัวข้อ “ประชาคมอาเซียน: ความจริง ความหวัง ความฝัน”, ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ, ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕.

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, “ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ๒๕๕๘”, เอกสารประกอบการนำเสนอโดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการสัมมนาวิชาการประจาปี ๒๕๕๕ ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕.

อุดม ทุมโฆสิต. การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่: บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว. กรุงเทพฯ: บริษัท แซท โฟร์ พริ้นติ้ง จากัด, ๒๕๕๑.

ASEAN Secretariat. ASEAN Economic Co-operation: Transition and Transformation. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 1997.

ASEAN Secretariat. Revised Handbook on Selected ASEAN Political Documents. Jakarta: Author, 2003.

ASEAN Secretariat. ASEAN Economic Community Blueprint. Jakarta: Author, 2008.

ASEAN Secretariat. The ASEAN Charter. Jakarta: Author, 2008.

ASEAN Secretariat. Roadmap for an ASEAN Community 2009-2015. Jakarta: Author, 2009.

ASEAN Secretariat. ASEAN Economic Community Factbook. Jakarta: Author, 2011.

ASEAN Secretariat. Master Plan on ASEAN Connectivity. Jakarta: Author, 2011.

ASEAN Secretariat. ASEAN Economic Community Scorecard. Jakarta: Author, 2012.

Ba, Alice D. (Re)Negotiating East and Southeast Asia: Region, Regionalism, and the Association of Southeast Asian Nations. Stanford, CA: Stanford University Press, 2009.

Basu Das, Sanchita (Ed.). Achieving the ASEAN Economic Community 2015: Challenges for Member Countries and Businesses. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2012.

Basu Das, Sanchita (Ed.). “A Critical Look at the ASEAN Economic Community Scorecard,” East Asia Forum, 1 June 2012, Retrieved 3 December 2012, from http://www.eastasiaforum.org/2012/06/01/a-critical-look-at-the-asean-economic-community-scorecard/

Beeson, Mark, and Stubbs, Richard (Eds.). Routledge Handbook of Asian Regionalism. London: Routledge, 2012.

Caporaso, James A., and Madeira, Mary Anne. Globalization, Institutions and Governance. Thousand Oaks, Calif.: SAGE, 2012.

Charillon, Frédéric (Dir.). Politique Etrangère: Nouveaux Regards. Paris: Presses de Sciences Po, 2002.

Ferguson, Yale H., and Mansbach, Richard W. Globalization: The Return of Borders to a Borderless World?. London: Routledge, 2012.

Kotler, Philip; Kartajaya, Hermawan, and Hooi Den Huan. Think ASEAN!: Rethinking Marketing towards ASEAN Community 2015. Singapore: McGraw-Hill, 2007. [Special foreword by Ong Keng Yong, Secretary-General of ASEAN].

Roberts, Christopher B. ASEAN Regionalism: Cooperation, Values and Institutionalization. London: Routledge, 2012.

Scholte, Jan Aart. Globalization: A Critical Introduction. 2nd, Rev. and Updated ed. Basingstoke: Palgrave Macmillan, 2005.

Severino, Rodolfo C. Southeast Asia in search of an ASEAN Community: Insights from the Former ASEAN Secretary-General. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2006.

Severino, Rodolfo C. ASEAN. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2008.

Severino, Rodolfo C ; Thomson, Elspeth, and Hong, Mark (Eds.), Southeast Asia in a New Era: Ten Countries, One Region in ASEAN. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2010.

Tiwari, S. (Ed.). ASEAN: Life after the Charter. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2010.

Weatherbee, Donald E. International relations in Southeast Asia: The Struggle for Autonomy (Rev. 2nd ed.). Lanham, MD: Rowman & Littlefield, 2009.