พลังความร่วมมือในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน : ปัญหาท้าทายความสาเร็จ

Main Article Content

Apinya Luernshavee

Abstract

     แม้อาเซียนจะมีเป้าหมายสาคัญในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่ออานวยต่อการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2558 ซึ่งพื้นฐานของประชาคมประกอบด้วย 3 เสาหลักสาคัญคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม โดยมีการจัดทาแผนงานและแนวทางปฏิบัติในการดาเนินความสัมพันธ์ภายในภูมิภาค ที่มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพและความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือระหว่างกัน อันจะนาไปสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์


     อย่างไรก็ดี ปัญหาอุปสรรคสาคัญที่จะทาให้อาเซียนบรรลุวัตถุประสงค์ล่าช้านั้นก็คือ การขาดจิตสานึกร่วมกันและขาดการสร้างค่านิยมร่วมกัน เนื่องจากความหลากหลายของวัฒนธรรมการเมือง (Political Culture) ของประเทศสมาชิกอาเซียน และการคานึงถึงผลประโยชน์ของรัฐมากกว่าผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคม อีกประการหนึ่ง ปัญหาอันเกิดจากการโครงสร้างสถาบันของอาเซียนที่ไม่เข้มแข็ง ความร่วมมือของอาเซียนไม่ได้อยู่ในลักษณะการจัดตั้งองค์การเหนือรัฐเหมือนเช่นสหภาพยุโรป ที่มีโครงสร้างขององค์การที่เข้มแข็งมาแต่เริ่มแรก ความร่วมมือของอาเซียนเป็นไปในระดับระหว่างรัฐบาล โดยอาศัยความสมัครใจของประเทศสมาชิกเป็นหลัก จึงขาดความเป็นเอกภาพ นอกจากนี้ กลไกในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกก็ยังไม่เป็นระบบชัดเจน ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาความขัดแย้งทางชายแดน ปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล ซึ่งทุกประเทศยังมองแต่ผลประโยชน์ของรัฐและไม่ประสงค์ให้ประเทศอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยว เหล่านี้ทาให้หนทางที่จะนาพาไปสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงที่สมบูรณ์เป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ เมื่อใดที่ความร่วมมือทางการเมืองบังเกิดขึ้น สถานการณ์บ้านเมืองสงบ ความร่วมมือด้านอื่นๆ ก็จะตามมา

Article Details

How to Cite
luernshavee, apinya . (2020). พลังความร่วมมือในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน : ปัญหาท้าทายความสาเร็จ. King Prajadhipok’s Institute Journal, 10(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244397
Section
Original Articles

References

กฎบัตรอาเซียน

กิตติ ประเสริฐสุข, ผศ.ดร. “พิเคราะห์อาเซียน...ผ่านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” http://aseanwatch.org

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ “ทะเลจีนใต้ และหมู่เกาะสแปรทลีย์ ชนวนแห่งความ ขัดแย้งด้าน สิทธิครอบครอง” วารสารนโยบายพลังงาน, ฉบับที่ 51 มกราคม - มีนาคม 2544.

อภิญญา เลื่อนฉวี. กฎหมายสหภาพยุโรป. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. 2548.

อภิญญา เลื่อนฉวี. กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน 2554.

Amitav Acharya. Constructing a Security Community. New York: Routledge, 2001.

European Commission. Freedom, Security and Justice for All: Justice and Home Affairs in the European Union. Belgium, 2004.

European Commission How the European Union Works: A Citizen’s Guide to the EU Institutions, Belgium 2003.

John A.Usher. European Court Practice London: Sweet & Maxwell, 1983.

Karen Davies. Understanding European Union Law. Cavendish Publishing Limited, 2001.

Simon Hix. The Political System of the European Union. Palgrave, 1999.

Stephen Martin. The Construction of Europe. Kluwer Academic Publishers, 1994.