ความยุติธรรมกับรัฐธรรมนูญ ภายใต้ประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ. 2558
Main Article Content
Abstract
ขณะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างเฝ้าจับตามองการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ของสมาชิกจานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไนดารุสซาราม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งหากมองในแง่ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แล้วถือว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของประเทศทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยยิ่งต้องกาหนดท่าทีและเตรียมการให้พร้อมหรืออาจเป็นเจ้าภาพหลักในประเด็นการปฏิรูปกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความยุติธรรมของพลเมืองซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน (Basic Rights) ที่ต้องถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ความยุติธรรมดังกล่าวอย่างน้อยหลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย (To be equal before the law) หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (Due process of law) และหลักนิติธรรม (Rule of law) จะต้องมีปรากฏในรัฐธรรมนูญ แต่ผลจากการวิเคราะห์รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ดังกล่าว พบว่าแต่ละประเทศให้ความสาคัญมากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องมีมาตรฐานขั้นต่าอยู่ในระดับเดียวกันถึงแม้ว่าแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างทางด้านรัฐศาสตร์หรือด้านระบบกฎหมาย หรือระบบศาลก็ตาม นอกจากนั้น กฎหมายภายในของแต่ละประเทศต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การศึกษา เทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรม
เพื่อให้ประชาคมอาเซียน (Asean Community) มีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกภาพในการอานวยความยุติธรรมให้กับพลเมืองของประเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมอาเซียน เห็นควรดาเนินการ ดังนี้
1 ประเทศประชาคมอาเซียนควรมีรัฐธรรมนูญอาเซียน (The Asean Constitution) โดยมีสถานะเป็นรัฐธรรมนูญกลางภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Asean Charter) ซึ่งรัฐธรรมนูญอาเซียนดังกล่าวจะบัญญัติเฉพาะความยุติธรรมของพลเมืองซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเท่านั้นและตามข้อตกลงของประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียน
2 ประเทศประชาคมอาเซียนควรมีศาลรัฐธรรมนูญอาเซียน (The Asean Constitutional Court) โดยมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาเซียนมาจากตุลาการหรือผู้พิพากษาของแต่ละประเทศสมาชิกและมีอานาจหน้าที่ตีความว่ารัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกว่าจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอาเซียนมิได้ ทั้งนี้ โดยประเทศไทยเป็นสถานที่ตั้งศาลรัฐธรรมนูญอาเซียน
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม. ฉบับ 1971, สำนักพิมพ์พระคริสตธรรมในประเทศไทย, พระนคร.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. กฎหมายกับความยุติธรรม, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพ, 2547.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพ, 2550.
สภาวิจัยแห่งชาติ. รัฐธรรมนูญนานาชาติ, กรุงเทพ, 2516.
โสภณ รัตนากร. ความยุติธรรม, บทบัณฑิตย์ เล่ม 25 ตอน 2, กรุงเทพ, 2511.
วิษณุ เครืองาม. ความรู้เบื้องต้นทางปรัชญา, คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพ, 2530.
อมร จันทรสมบูรณ์. คอนสติติวชั่นแนลลิสม์ : ทางออกของประเทศไทย, กรุงเทพ, 2541.
John Rawls. A Theory of Justice, London, 1972.
Lord Denning. The Road to Justice, London, 1995.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ค.ศ. 1993.
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2546.
The Constitution of the Republic of Indonesia ค.ศ. 1945.
The Constitution of the Republic of Singapore.
The Constitution of the Republic of the Philippines ค.ศ. 1987.
The Constitution of the Socialist Republic of Vietnam ค.ศ. 1992 (as amended 25 December 2001).
The Constitution of the Republic of the Union of Myanmar ค.ศ. 2008.
The Constitution of the Federation of Malaysia ค.ศ. 1963.
The Constitution of Brunei Darussalam ค.ศ. 1959.