องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการปรับตัวเพื่อรองรับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

Cheerawat Charoensuk

Abstract

     หลายทศวรรษที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าโลกของเรากาลังก้าวย่างเข้าสู่การรวมตัวกันในทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น แทนที่จะเป็นการรวมตัวกันทางการทหารเหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภัยคุกคามด้านการทหารได้ ค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ในระดับที่ไม่น่าหวาดระแวงเท่าไรนัก ประกอบกับชัยชนะของระบอบทุนนิยมที่มีต่อระบอบสังคมนิยม อันนาไปสู่สังคมแห่งการบริโภคนิยมอย่างเต็มที่ ประชาคมโลกจึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากการต่อสู้ทางการทหารมาสู่การต่อสู้แก่งแย่งแข่งขันระหว่างกันเพื่อให้เศรษฐกิจของตนเหนือกว่าเศรษฐกิจของประเทศอื่น และนั่นย่อมหมายถึงความสามารถในการบริโภคที่สมบูรณ์กว่าประชาชนของประเทศอื่นด้วย


     ก่อนหน้านี้ แม้ว่าจะมีความพยายามรวมตัวกันของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน แต่ก็นับว่าเป็นการรวมตัวที่ค่อนข้างคลุมเครือหละหลวม ทั้งนี้เป็นเพราะความแตกต่างในหลากหลายมิติ อาทิ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และอุดมการณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออาเซียนพบว่า การรวมตัวของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปซึ่งในท้ายที่สุดกลายเป็นสหภาพยุโรป ได้ส่งผลให้มวลสมาชิกเหล่านั้นมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการทหารในระดับโลกมากแค่ไหน ประกอบกับเมื่ออาเซียนพบว่า ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกกาลังมีแนวโน้มที่จะจับมือรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อมุ่งสู่การช่วงชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทาให้อาเซียนจาต้องหันหน้าเข้าหากันและเสาะแสวงหาแนวทางสร้างความร่วมมือระหว่างกันเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเฉกเช่นเดียวกับที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก


     เป้าหมายสูงสุดของทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งได้แก่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 จึงทรงความหมายอย่างยิ่ง นอกจากการได้รับประโยชน์จากความร่วมมือทางด้านการเมืองการทหาร และด้านสังคมวัฒนธรรมแล้ว การรวมตัวกันยังนาไปสู่การกลายเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดมหึมาของโลกด้วยจานวนประชากรเกือบ 600 ล้านคน รวมถึงนาไปสู่การส่งเสริมสนับสนุนการทามาค้าขายระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้นด้วยการปลดล็อคกฎเกณฑ์ทางการค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ สาหรับประเทศไทยในฐานะที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ เฉกเช่นเดียวกันประเทศอื่น ๆ ดังนั้น ทุกภาคส่วนของไทยจึงต้องเฝ้าจับตามองการเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2558 ทั้งนี้เพื่อนาไปสู่การปรับตัวขององค์การภาครัฐให้สอดคล้องเหมาะสมต่ออนาคตที่กาลังจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น


     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นหน่วยทางการปกครองระดับล่างที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องศึกษาทาความเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับท้องถิ่นของตนจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมได้แก่การสร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นเป้าหมายเดียวกันกับเป้าหมายของประชาคมอาเซียน หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับประชาคมอาเซียน ย่อมส่งผลกระทบมาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะเดียวกันนั่นเอง


     บทความนี้ มุ่งวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตที่น่าจะเกิดขึ้นกับท้องถิ่น และเสนอแนะแนวทางแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อเกิดการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2558 โดยหวังว่าเมื่อถึงวันนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถเป็นที่พึ่งที่หวังให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีความกินดีอยู่ดี รวมถึงทาหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นไทยไม่เกิดความเสียเปรียบในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน

Article Details

How to Cite
charoensuk, cheerawat . (2020). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการปรับตัวเพื่อรองรับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. King Prajadhipok’s Institute Journal, 10(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244402
Section
Original Articles

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2552).ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ASEAN Economic Community: AEC. ม.ป.ท.: มปพ.

กรมสารนิเทศ. (2552). นานาสาระเกี่ยวกับอาเซียนและการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14. ม.ป.ท.: มปพ.

กรมอาเซียน. (2553). แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน.กรุงเทพ ฯ : เพจเมคเกอร์ จากัด.

กองวิจัยตลาดแรงงาน, ฝ่ายวิเคราะห์ตลาดแรงงาน. (2553). เงื่อนไขเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : กรมการจัดหางาน.

ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2554). ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550)

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2552)

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2552)

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2552)

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2552)

สำนักงานเลขาธิการอาเซียน. (2553). การวัดผลการดำเนินงาน เพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. แปลโดย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. ม.ป.ท.: มปพ.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2543). การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายภายในของประเทศอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและรองรับการเปิดเสรีทางการค้าและเศรษฐกิจของอาเซียน : ภาคการค้าบริการและภาคการลงทุน (ภาคการค้าบริการ ฉบับที่ 1). มปท. :มปพ,

สีดา สอนศรี. (2552).“ความเป็นไปได้ของชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) เมื่อเปรียบเทียบกับประชาคมยุโรป” ใน อาเซียน: ประเด็นปัญหาและความท้าทาย. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

The ASEAN Secretariat, Public Affairs Office.(2008).ASEAN ECONOMIC COMMUNITY BLUEPRINT. Jakarta: ASEAN Secretariat.

กรมการท่องเที่ยว.สถิตินักท่องเที่ยว (Tourist Arrivals in Thailand). แหล่งที่มา http://123.242.133.66/tourism/th/home/tourism.php (11 พฤษภาคม 2555).

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการในกรอบอาเซียน (AFAS). แหล่งที่มา http://www.dtn.go.th/dtn/tradeinfo/file/afas.htm (23 กุมภาพันธ์ 2555).

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. “อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ใน เวทีสาธารณะ การเปิดเสรีการลงทุนในอาเซียนภายใต้ความตกลง ACIA,12 มิถุนายน 2552. แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/asean/asean_web/media/ASEAN_and_AEC_3.pdf (22 กุมภาพันธ์ 2555).

กรมทางหลวง. โครงการทางหลวงอาเซียน. แหล่งที่มา http://www.doh.go.th/web/international/asean.html (22 เมษายน 2555).

กรมประชาสัมพันธ์, สานักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ. ประเทศไทยกับอาเซียน. แหล่งที่มา http://www.prd.go.th/download/thai_asian.pdf (22 เมษายน 2555).

กรมส่งเสริมการส่งออก.สถิติอาเซียน-ไทย.แหล่งที่มา http://www.ditp.go.th/DEP/DOC/55/55000466.pdf (24 กุมภาพันธ์ 2555).

กระทรวงการต่างประเทศ. เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area). แหล่งที่มาhttp://www.mfa.go.th/internet/document/621.doc (23 กุมภาพันธ์ 2555).

กระทรวงการต่างประเทศ. กฎบัตรอาเซียน. แหล่งที่มา http://aseansummit.mfa.go.th/15/thai/PDF/ASEAN_Charter_TH+EN.pdf (11 มีนาคม 2555).

กระทรวงการต่างประเทศ. โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง. แหล่งที่มา http://aseansummit.mfa.go.th/15/thai/about_asean_03_7.php (22 เมษายน 2555).

กระทรวงการต่างประเทศ. ความเป็นมาของอาเซียน. แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/internet/document/6179.pdf (22 กุมภาพันธ์ 2555).

กระทรวงการต่างประเทศ. ประชาคมอาเซียน. แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/internet/document/1808.pdf (22 กุมภาพันธ์ 2555).

กระทรวงการต่างประเทศ. ประเทศไทยกับอาเซียน. แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/asean (8 กุมภาพันธ์ 2555).

กระทรวงการต่างประเทศ. แผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม. แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/asean/asean_web/media/asccblueprint_social.pdf (23 กุมภาพันธ์ 2555).

ธงทอง จันทรางศุ. “ทิศทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการก้าวนำประชาคมอาเซียน” ใน โครงการฝึกอบรมผู้นำการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. แหล่งที่มา http://news.thaiza.com (22 เมษายน 2555).

ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน. (2555). การรับรู้และการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของคนเมืองในอีสาน.แหล่งที่มา http://202.12.97.4/kkunews/index.php?option=content&task=view&id=11616 (12 เมษายน 2555).

สมเกียรติ อ่อนวิมล.ภาษาอังกฤษกับอนาคตของไทยในอาเซียน. แหล่งที่มา http://blog.eduzones.com/wigi/81880 (29 กุมภาพันธ์ 2555).

สมชาย หาญหิรัญ.ความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO). แหล่งที่มา http://www.oie.go.th/article/les_AICO.pdf (23 กุมภาพันธ์ 2555).

สุภัฒ สงวนดีกุล. “อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ใน สัมมนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการอุดหนุนสินค้าเกษตร. 25 มิถุนายน 2552. แหล่งที่มา http://www.thaifeedmill.com/Portals/0/AEC (24 กุมภาพันธ์ 2555).

อภิญญา เลื่อนฉวี.เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในอาเซียน : ผลกระทบอย่างไรต่อไทย. แหล่งที่มา http://www.kpi.ac.th/kpith/pdf (12 เมษายน 2555).

Education First. EF EPI English Proficiency Index. Available from http://www.EF.com/epi (29th February 2012).