กลไกและกฎเกณฑ์ในการสร้าง “ ความพร้อมรับผิดทางการเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยของไทย
Main Article Content
Abstract
การปฏิวัติ (ปฏิรูป) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้ทาให้ประเทศไทยเคลื่อนกลับเข้าสู่ “วงจรอุบาทว์” ทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าการใช้กาลังทหารในการยึดอานาจและเปลี่ยนแปลงการ ปกครองครั้งล่าสุดนี้จะมิได้มีการกระทาอย่างรุนแรงเด็ดขาดเช่นเดียวกับการปฏิวัติในอดีตก็ตาม อย่างไรก็ดี การปฏิวัติครั้งนี้ หากพิจารณาจากแง่มุมการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยแล้วได้ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของกลไกและกฎเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เกือบสิ้นเชิงในการสร้างประสิทธิภาพในการตรวจสอบและควบคุมการใช้อานาจของฝ่ายบริหารที่กลุ่มต่อต้านเห็นว่ามีมากเกินไปจนถึงระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้ อันนาไปสู่การท้าทายความชอบธรรมของการอยู่ในอานาจของผู้ปกครองต่อไป แม้ว่ารัฐบาลและผู้นาจะอ้างว่าได้อานาจมาถูกต้องตามกติกาจากประชาชน และยังมีความชอบธรรมในการปกครองอยู่แม้กระทั่งหลังผู้นาถูกโค่นล้มและลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศระยะหนึ่งแล้วก็ตาม นอกเหนือจากเรื่องกลไกและกฎเกณฑ์ตามกฎหมายแล้ว ยังมีความล้มเหลวในการสร้างปทัสถาน (norms) ตามหลักการของการใช้รัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับนับถือ ตลอดจนขาดสิ่งที่เรียกว่า “มรรยาทที่เหมาะสมทางรัฐธรรมนูญ (constitutional propriety)” กล่าวคือการใช้วิจารณญาณหรือจิตสานึก (intuition) ของผู้ปกครองว่าควรจะใช้อานาจอย่างไรจึงจะเหมาะสมพอดี และเมื่อมีวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจเกิดขึ้น รัฐบาลและผู้นาควรจะแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกจากตาแหน่งในช่วงเวลาที่จะสามารถช่วยบรรเทาวิกฤตนั้นได้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตย
Article Details
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.