Thinking Pattern and Leadership Styles of Presidents of the Parliamentary Common Committees in Thailand

Main Article Content

Tubtimsayam Sanguandechsagun

Abstract

     ผลการเปลี่ยนแปลงผู้นาทางการเมืองในช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมานั้นชี้ชัดให้เห็นว่า แบบแผนความคิดและรูปแบบผู้นาทางการเมืองของประเทศไทยนั้นมีส่วนสาคัญต่อทิศทางการพัฒนาประเทศไทย ที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีการถ่วงดุลซึ่งกันและกันระหว่าง อานาจบริหาร อานาจนิติบัญญัติ และอานาจตุลาการ หากพิจารณาความแตกต่างของการบริหารอานาจทั้งสามฝ่ายนั้นแบบแผนความคิดและรูปแบบผู้นามีผลต่อการตัดสินใจ การทางานของผู้นาเสมอ


     คณะกรรมาธิการนับว่าเป็นองค์กรที่มีบทบาทสาคัญในระบบรัฐสภา คณะกรรมาธิการเปรียบเสมือนที่ประชุมย่อยของรัฐสภาที่ทาหน้าที่พิจารณากฎหมายและศึกษาสอบสวนเรื่องต่างๆอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้รัฐสภาได้พิจารณาและตัดสินใจเกี่ยวกับกฎหมายหรือประเด็นปัญหาต่างๆ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2543, หน้า 65) และตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อที่ 80 (ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 เล่ม 118 ตอนพิเศษ 42 ข้อ 80 ลงวันที่ 11/5/44) ที่กาหนดเป็นการบังคับให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจาสภาผู้แทนราษฎรจานวน 31 คณะ ซึ่งการตั้งคณะกรรมาธิการดังกล่าวนี้จะตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภาผู้แทนราษฎร โดยแต่ละคณะประกอบด้วยกรรมาธิการจานวน 17 คน เข้าปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมาธิการในหน้าที่ต่างๆ ของคณะกรรมาธิการ ดังนั้นการทางาน การตัดสินใจของประธานและคณะกรรมาธิการสามัญประจาสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยจึงมีความสาคัญกับการใช้อานาจนิติบัญญัติแทนประชาชน รวมทั้งการมีอิทธิพลต่อการทางานของฝ่ายบริหาร ทาให้การศึกษาแบบแผนความคิดของประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจาสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยแต่ละบุคคลน่าจะมีความแตกต่างกันจึงทาให้ลักษณะของรูปแบบผู้นาของประธานและคณะกรรมาธิการสามัญประจาสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยจึงมีความแตกต่างกัน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ได้สังเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลแบบแผนความคิดของประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจาสภาผู้แทนราษฎร คือ ลักษณะของกระบวนการคิดต่างๆ อาทิเช่น การคิดเชิงระบบ (System Thinking) การคิดเชิงลาดับขั้นตอน (Steps and Procedures Thinking) การคิดเชิงความรู้ทางวัฒนธรรม (Empathy&Cultural Knowledge Thinking) และการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) โดยมีคุณสมบัติส่วนบุคคลและแหล่งที่มาของอานาจเป็นตัวแปรแทรกซ้อนในการวิเคราะห์รูปแบบผู้นาของประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจาสภาผู้แทนราษฎรที่สามารถจาแนกได้คือ ผู้นาแบบเด็ดขาด (Autocratic Leadership style) ผู้นาแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership style) ผู้นาแบบตามสบาย (Laissez-Faire Leadership style) ผู้นาแบบเน้นสังคม (Socialistic Leadership style) ซึ่งได้ทาการสรุปธรรมชาติของแบบแผนความคิดและรูปแบบผู้นาของประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจาสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย ได้ว่า “การทางานของประธานคณะกรรมาธิการรัฐสภาในทุกประเทศทั่วโลกย่อมมีความแตกต่างกันไปตามแบบแผนความคิดของประธานคณะกรรมาธิการนั้น ๆ ถ้ามีการศึกษาแบบแผนความคิดเหล่านี้อย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงกับรูปแบบของผู้นาแล้วในทางวิชาการน่าจะนาไปสู่การกาหนดรูปแบบผู้นาของประธานคณะกรรมาธิการคณะต่าง ๆ ในรัฐสภาได้เป็นอย่างดี และเมื่อมีการศึกษารูปแบบผู้นาได้อย่างเป็นระบบแล้วก็น่าจะนาไปสู่การอธิบายรูปแบบการทางานของประธานกรรมาธิการคณะต่าง ๆ ได้”

Article Details

How to Cite
sanguandechsagun, tubtimsayam . . (2020). Thinking Pattern and Leadership Styles of Presidents of the Parliamentary Common Committees in Thailand. King Prajadhipok’s Institute Journal, 6(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244657
Section
Original Articles

References

กีรติ บุญเจือ.(2544). ปรัชญาหลังนวยุค. กรุงเทพฯ: New Horizon Publisher.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2532). ความฉลาดสองด้าน. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) .(ม.ป.ป.). กรอบความคิดหลักในการเรียบเรียงบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญตามแนวรัฐธรรมนูญนิยม(Constitutionalism).(เล่ม 2 ). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ชนิดา วิตต์สุทธิผล.(2544). ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ .(2542).ทฤษฎีไร้ระเบียบกับทางสองแพร่งของสังคมสยาม.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.

ณฐพร วรปัญญาตระกูล.(2547).รัฐสภาไทยในรอบ 72 ปี ภายใต้ยุคประชาธิปไตย.รัฐสภาสาร. ปีที่ 52 ฉบับที่ 6 หน้า 172-186.

ดารง วัฒนา.(ม.ป.ป.). การบริหารจัดการตามทฤษฎี"ห่านป่าบิน"(Flying Geese Theory). กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2530). ข้าราชการระดับสูงของไทยและความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : สานักงานอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ติน ปรัชญพฤทธิ์.(2539).เอกสารการสอนชุดวิชา การพัฒนาองค์กร: หน่วยที่ 13 บทบาทและค่านิยมของผู้บริหารระดับสูงของไทยกับการพัฒนาองค์การ.[นนทบุรี] : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ . (2543) ระบบสมอง. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: มาสเตอร์กุร๊ป แมเนจเม้นท์.

ธงทอง จันทรางศุ. (2538). การปรับปรุงระบบการทางานของคณะกรรมาธิการของสภาให้มีประสิทธิภาพเพิ่ม น.รายงานวิจัย เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองไทยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ

วิจัย (สกว.).

ประคอง กรรณสูต.(2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ .(พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประยุทธ์ ปยุตโต(พระพรหมคุณาภรณ์). (2549). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ยาม

พุทธทาสภิกขุ. (2549). ธรรมะกับการเมือง. กรุงเทพฯ: เพชรประกาย.

มนตรี เจนวิทย์การ. (2549). แนวคิดเรื่องความชอบธรรมกับการต่อสู้ทางการเมืองยุคทักษิณ. สถาบันพระปกเกล้า .ปีที่ 4 ฉบับที่ 1.

ลิขิต เพชรสว่าง. 2540. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล เรื่อง บทบาทของคณะกรรมาธิการสามัญสภาผู้แทนราษฎร. นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา พ.ศ. 2540.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2546). สาระสาคัญและแนวทางการพัฒนาสภาผู้แทนราษฏรใน 10 ปี ข้างหน้า. (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์.(2543). สาระสาคัญและแนวทางการพัฒนาสภาผู้แทนราษฏรใน 10 ปี ข้างหน้า.

รายงานการวิจัยด้วยเงินสนับสนุนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2539). กรอบความคิดหลักในการเรียบเรียงบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญ = (Constitutionalism) (เล่ม 2) / โดย คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Alvin Toffler.(1980). The Third Wave. New York: Bantam Book.

Booth,A. (1980). Leadership Styles. New Jersey: Facet Publishing.

David Harvey. (1989). The Condition of Postmodernity.An Enquiry into the Origins of Cultural Change. Great Britain: Cambridge University Press.

Herrmann, Ned. (1996). The Whole Brain Business Book. New York: McGraw Hill.

Maccoby, Michael. (1976). The gamesman. New York : Simon and Schuster.

Stogdill and Coons' leadership behavior quadrants. From Educational Administration: Concepts and Practices (p. 134), by F. C. Lunenburg and A. C. Ornstein, 1991, Belmont, CA: Wadworth. http://www.aiias.edu/academics/sgs/info/v2n1/john_institutional_commitment.html