24 มิถุนาในขบวนการ 14 ตุลา : การเมืองและอานาจของประวัติศาสตร์

Main Article Content

Prajak Kongkirati

Abstract

     ความหมายของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หนึ่งๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ณ ขณะที่เกิดเหตุการณ์มันอาจมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความหมายของเหตุการณ์ก็เคลื่อนตัวไปด้วย กล่าวได้ว่าความหมายไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเหตุการณ์เอง แต่มนุษย์ต่างหากที่เป็นผู้ให้ความหมายกับเหตุการณ์ ยิ่งในกรณีของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เมื่อมันจบไปแล้ว ความหมายก็หลุดลอยออกไปจากการยึดกุมของผู้ร่วมเหตุการณ์เพียงลาพัง ไปสู่มือของคนรุ่นหลัง แน่นอนว่าบุคคลร่วมสมัยหรือผู้ร่วมเหตุการณ์โดยตรงยังสามารถมีสิทธิมีเสียงในการถ่ายทอด บอกกล่าว ตะโกนร้องแก่คนรุ่นหลังให้รับรู้ความหมายในแบบที่พวกเขาต้องการ แต่พวกเขาปราศจากซึ่งอานาจผูกขาด มีก็แต่เพียงสิทธิในการเข้าร่วมต่อสู้แย่งชิงความหมายร่วมกับคนรุ่นหลังอื่นๆ เท่านั้นเอง


     ในแง่นี้ประวัติศาสตร์ทั้งหลายจึงเป็นประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน เพราะปัจจุบันต่างหากที่ให้ความหมาย กระทั่งให้ชีวิตแก่เหตุการณ์ในอดีตที่จบสิ้นตายจากไปแล้ว เรื่องราวใดไม่ถูกรับรู้ให้ความสาคัญโดยปัจจุบัน มันก็ได้แต่นอนแน่นิ่งอยู่อย่างนั้นในก้นเหวของอดีต ส่วนเรื่องราวที่เรารับรู้ เล่าเรียน จดจา เฉลิมฉลองว่ามันเป็นประวัติศาสตร์ ก็เพราะมันถูกเลือกมาแล้วว่ามีความหมาย มีคุณค่ากับชีวิตของเราในปัจจุบัน โดยตัวสังคมเองเป็นผู้กลั่นกรองและเลือกที่จะลืมหรือจดจำ


     แต่สังคมการเมืองไม่ใช่อาณาบริเวณที่มีเอกภาพเป็นเนื้อเดียวกัน ความขัดแย้งแตกต่างในการเลือกที่จะลืมหรือจา จาแล้วให้ความหมายกับมันอย่างไร เป็นเรื่องของการทะเลาะ ขัดแย้ง ต่อรอง ประนีประนอม ระหว่างสมาชิกในสังคมทั้งที่เป็นปัจเจกและกลุ่ม ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่เรียกว่า ระบอบความรู้ อานาจการเมือง และ เกมการต่อสู้ทางการเมืองวัฒนธรรม ในแต่ละยุคสมัย เป็นปัจจัยสาคัญในการกาหนดความหมายของเหตุการณ์ในอดีต

Article Details

How to Cite
kongkirati, prajak . (2020). 24 มิถุนาในขบวนการ 14 ตุลา : การเมืองและอานาจของประวัติศาสตร์. King Prajadhipok’s Institute Journal, 2(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244815
Section
Original Articles