มิติประชาธิปไตย จากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง (สยาม) 24 มิถุนายน 2475

Main Article Content

Sanee Khamsuk

Abstract

     เหตุการณ์ 4 วัน ระหว่างวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2475 ถึงวันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2547 (ครบรอบ 72 ปีของเหตุการณ์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2547) คือการที่ “คณะราษฎร” โดยการนาของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หลวงประดิษฐมนูธรรม (ดร.ปรีดี พนมยงค์) และคนอื่นๆ อีกราว 10 คน ได้ออกมาประกาศ “ยึดอานาจ” เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์มีพระราชอานาจมากที่เป็นอยู่ไปสู่ระบอบใหม่ที่อานาจอธิปไตยเป็นของ “ราษฎรทั้งหลาย” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว “ศูนย์กลาง” ของการปกครองระบอบเดิม ทรงเห็นชอบกับการเปลี่ยนแปลงและเข้าร่วมในกระบวนการที่คณะราษฎรเรียกร้องด้วยวิธีการ “ออมชอม” ไม่ใช้ความรุนแรงและสร้างความแตกแยกและเดือดร้อนให้ “บ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์” ผลการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมแรกสุด คือมีการประกาศใช้ “รัฐธรรมนูญ” ฉบับแรกของสยามคือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475


     โดยหลักการของรัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงสาคัญ ก็คือ การจากัดพระราชอานาจของพระมหากษัตริย์ (limited monarchy) ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) ซึ่งมีความหมายตามนัยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ คือ จะต้องมีสถาบันทางการเมืองใหม่และปรับโครงสร้างทางการเมืองใหม่ รวมทั้งกระบวนการทางการเมืองใหม่ที่จะต้องเกิดขึ้นต่อไป เพราะจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ มาจาก “แนวคิดใหม่” หรือ “แนวคิดที่ต่างออกไป” จากกรอบความคิดเกี่ยวกับการเมืองการปกครองเดิมของสยามที่ทรงอิทธิพลมาตลอดและยังทรงอิทธิพลสูงยิ่งในช่วงของการเกิดหตุการณ์สาคัญครั้งนี้ด้วย เพียงแต่จาเป็นต้องปรับตัวให้เข้าสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปมากในโลกและกาลังแผ่เข้ามามากขึ้น ๆ ตามลาดับในสังคมสยาม (ไทย)

Article Details

How to Cite
khamsuk, sanee . (2020). มิติประชาธิปไตย จากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง (สยาม) 24 มิถุนายน 2475. King Prajadhipok’s Institute Journal, 2(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244819
Section
Original Articles

References

กนก วงษ์ตระหง่าน. การเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. 2475 การปฏิวัติสยาม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย 2475 – 2500 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.

ชัยอนันต์ สมุทวนิช. ไตรลักษณรัฐกับการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท สุขุมและบุตร จำกัด, 2538.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ , 2535

พิพิธภัณฑ์รัฐสภา. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. มป.ป. , มปท.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. อะไรนะ…ประชาธิปไตย? . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538

Barry, Norman. An Introduction to Modern Political Theory. New York: St. Martin’s Press, 2000.

Heywood, Andrew. Political Theory: An Introduction. New York: PALGRAVE, 1999.

McAULEY, W. James. An Introduction to Politics, State & Society. London : SAGE Publications Ltd., 2003.

Qathafi, Al Muammar. The Green Book. Tripoli, Jamahiriya: World Center For the Study and Research, 1999.