ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยกับการรู้ดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรู้ดิจิทัลของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยกับการรู้ดิจิทัล และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการรู้ดิจิทัลให้กับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
วิธีวิจัยประกอบด้วยการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถามและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม และ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความคิดเห็นและพฤติกรรมด้วย f-test (ANOVA) และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน - Pearson Product Moment Correlation Coefficient (r) ระหว่างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยและการรู้ดิจิทัล
ผลการวิจัยพบว่า ด้านความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยระดับมาก (= 3.28) โดยให้คุณค่ากับประชาธิปไตยระดับมาก (= 3.39) มีพฤติกรรมแสดงการให้คุณค่าประชาธิปไตยเป็นบางครั้ง (= 2.45)
ด้านการรู้ดิจิทัล ผู้ตอบแบบสอบถามมีการรู้ดิจิทัลอยู่ในระดับมาก (= 2.61) โดยมีความสามารถในการใช้ดิจิทัลในระดับมาก (= 2.89) และมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการรู้ดิจิทัลบางครั้ง (= 2.45)
ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กับการรู้ดิจิทัลในทางบวกระดับกลางถึงสูง (r = .455) โดย การติดตามข่าวประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ มีความสัมพันธ์กับการรู้ดิจิทัลในระดับสูงถึงสูงมาก คือ (r = .502) และ ความสัมพันธ์ระหว่าง การสนใจเรื่องราวในชุมชน การสนใจติดตามข่าวเกี่ยวกับการเมือง นักการเมือง พรรคการเมือง นโยบายรัฐบาล มีความสัมพันธ์กับการรู้ดิจิทัลในระดับปานกลางถึงสูง (r = .387) แสดงให้เห็นความสำคัญของการใส่ใจประเด็นสิทธิ และการมีส่วนรวม กับการรู้ดิจิทัล
งานวิจัยมีข้อเสนอให้ภาครัฐกำหนดกรอบการทำงานการพัฒนาพลเมืองประชาธิปไตยที่รู้ดิจิทัลขึ้นในระดับชาติ ลดความซ้ำซ้อนและบูรณาการการทำงานส่งเสริมการรู้ดิจิทัลทั้งความรู้และปฏิบัติการเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ มีองค์กรกลางเชื่อมโยงและติดตามสถานะการรู้ดิจิทัลของพลเมืองในสังคม และเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ ความก้าวหน้าทางวิทยาการ รวมทั้งเครื่องมือส่งเสริมการรู้ดิจิทัลของพลเมืองที่ทุกฝ่ายใช้ประโยชน์ร่วมกัน และ กำหนดให้นำประเด็นการรู้ดิจิทัลบรรจุไว้ในกระบวนการเรียนการสอนซึ่งสามารถทำได้โดยทันที สำหรับหน่วยงานที่ทำงานส่งเสริมการรู้ดิจิทัลควรเชื่อมโยงคุณค่าประชาธิปไตยเข้าไว้ในงานรู้ดิจิทัล และ ควรมีการวิจัยติดตามประเมินการรู้ดิจิทัลของพลเมืองตามแนวทางสากลเพื่อทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้ใช้งานในโลกดิจิทัล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
@ 2020 King Prajadhipok's Institute The Government Complex Commemorating All Right Reserved.
References
ภาษาไทย
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สืบค้นจาก https://onde.go.th/view/1/Digital_Development_for_National_
Economic_and_Social_Development/EN-US
จารุวรรณ แก้วมะโน. (2561). รายงานวิจัยโครงการวิจัยวัดความเป็นพลเมืองในพื้นที่
บูรณาการจังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบัน
พระปกเกล้า.
ณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี และนุชประภา โมกข์ศาสตร์. (2562). การรู้เท่าทันสื่อสังคม
ออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
พีรวิชญ์ คำเจริญ และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 22-30.
พีระ จิรโสภณ และคณะ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สุภิญญา กลางณรงค์. ผู้ร่วมก่อตั้ง COFACT- พื้นที่ตรวจสอบข่าวลวง และ อดีตกรรมการ
กิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2564, 9 สิงหาคม). สัมภาษณ์.
อุษา บิ๊กกิ้นส์. อาจารย์ประจำ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร
ศาสตร์. (2564, 29 กรกฎาคม). สัมภาษณ์.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2551). การเมืองภาคพลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี
และราชกิจจานุเบกษา.
ภาษาอังกฤษ
Arendt, Hannah. (2019). Conception of Citizenship in Stanford Encyclopedia of
Philosophy. Retrieved from https://plato.stanford.edu/archives/fall2019/
entries/arendt/
Belshaw, Douglas A.J., (2011). What is digital literacy?: A Pragmatic investigation.
(Doctor Dissertation) Durham University, Department of Education, Durham. Retrieved from http://creativecommons.org/publicdomain/
zero/1.0/
Best, J. W. (1981). Research in Education. (4th edition.). New Jersey: Prentice –
Hall Inc.
Chawaporn Dhamanitayakul. (2018). Conceptualizing Digital Citizenship for
Digital Natives in Thailand. (Doctor Dissertation) National
Institute of Development Administration, The Graduate School of
Communication Arts and Management Innovation, Bangkok.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd edition), New York: John
Wiley & Sons.
De Vaus, D.A. (2002). Survey in Social Research. (5th edition). New Zealand:
Allen & Unwin Publishing.
Kemp, Simon. (2021). Digital 2021: The Latest Insights into the State of Digital. Retrieved from https://wearesocial.com/uk/blog/2021/01/digital-2021-the-
latest-insights-into-the-state-of-digital/
Internet World Stats. (2021). Internet World Stats – Usage and Population
Statistics. Retrieved from https://www.internetworldstats.com/stats.htm
Marshall, T.H. (1950). Citizenship and Social Class. Cambridge: Cambridge University Press.
Russell, Dalton. (2009). The Good Citizen. Washington: CQ press.
Starkey, Louise. (2012). Teaching and Learning in the Digital Age. London:
Routledge.
UNESCO. (2018). A Global Framework of Reference on Digital Literacy Skills for
Indicator 4.4.2. Information Paper No. 51 June 2018 UIS/2018/ICT/IP/51.
Retrieved from http://uis.unesco.org/sites/default/files/documents/ip51-
global-framework-reference-digital-literacy-skills-2018-en.pdf
Westheimer, Joel. (2015). What Kind of Citizen? Educating Our Children for the
Common Good. New York: Teachers College Press.
Worldometer. (2021). World Population. Retrieved from