การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาย่านกะดีจีน-คลองสาน

Main Article Content

นิรมล เสรีสกุล
ธนพร โอวาทวรวรัญญู

บทคัดย่อ

แนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ยูเนสโกเป็นแนวคิดที่สนับสนุนให้รัฐท้องถิ่นและเครือข่าย พัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองให้เกิดการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ให้ตอบรับกับความต้องการของเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้และการเปลี่ยนแปลง รวมถึงแก้ไขปัญหา
ความเหลื่อมล้ำ ที่หน่วยงานภาครัฐส่วนกลางและท้องถิ่น รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ของประเทศไทย รับแนวคิดมาประยุกต์ใช้และผลักดันการพัฒนาเมือง โดยกรุงเทพมหานครเป็นท้องถิ่นหนึ่งที่มีศักยภาพและปัญหา
ที่เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้แนวคิดนี้เป็นแนวนโยบายสู่การปฏิบัติจริง งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์สถานการณ์ บทบาท และศักยภาพ ของเครือข่ายทางสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจสมาชิกและเครือข่าย ก่อนการวางแผน
เชิงยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการพัฒนา อันจะช่วยให้แผนการพัฒนามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการเข้าใจศักยภาพ โอกาส และข้อจำกัด ของสมาชิกและเครือข่าย ผ่านการวิเคราะห์ความเป็นศูนย์กลางจากการวัดผลโดยเน้นไปที่สมาชิกในเครือข่าย ในด้านความเข้มข้น ความหลากหลาย และบทบาท


งานวิจัยฉบับนี้ ศึกษาผ่านพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าเมืองอื่นๆ มาก จึงจำเป็นจะต้องเลือกพื้นที่ศึกษาที่มีขนาดใกล้เคียงกับ “เมือง” หรือเทศบาลตามนิยามแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ยูเนสโก และเป็นพื้นที่ที่มีต้นทุนทั้งด้านกายภาพและสังคม  จากการมีสาธารณูปการที่ส่งเสริมการเรียนรู้เป็นอันดับที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร มีเครือข่ายทางสังคม
ที่หลากหลาย รวมถึงมีปัจจัยพื้นฐานในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของยูเนสโกครบ
ทั้ง 3 องค์ประกอบ โดยการรวบรวมข้อมูลใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม
ผ่านการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ จากการศึกษา พบว่า เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของย่านกะดีจีน-คลองสาน มีเครือข่ายอยู่ในลักษณะเครือข่ายแบบกระจาย (distributed) มีสมาชิกศักยภาพจากหลากหลายภาคส่วนที่มีบทบาทสนับสนุนการดำเนินงาน
ซึ่งกันและกัน ตลอดจนสามารถสร้างการขับเคลื่อนการพัฒนาย่านอย่างเป็นองคาพยพ


อย่างไรก็ตาม พบว่า การขับเคลื่อนยังมีข้อจำกัดจากรูปแบบการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานคร การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานพันธกิจหรือโครงการ และข้อจำกัดของต้นทุนด้านต่างๆ ของสมาชิก
ในเครือข่าย ที่นำไปสู่ข้อเสนอในการขับเคลื่อนแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร ที่เสนอ
การเชื่อมต่อเครือข่ายกับเครือข่ายอื่นๆ สร้างแพลตฟอร์มความรู้ของย่าน และสร้างพลเมืองหรืออาสาย่านด้านข้อมูลและความรู้ จากความร่วมมือของเครือข่ายในการขับเคลื่อนอย่างเป็นองคาพยพ ที่สนับสนุนให้เกิดพลวัตระยะยาวของการขับเคลื่อนและพัฒนาตามแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ ตอบรับกับความต้องการของเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้และการเปลี่ยนแปลง รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำของเมืองและประเทศ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถนำไปต่อยอดขยายผลการทำซ้ำในพื้นที่ย่านและเมืองอื่นๆ ของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายและแผนการในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
เสรีสกุล น., & โอวาทวรวรัญญู ธ. (2022). การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาย่านกะดีจีน-คลองสาน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 20(2), 45–67. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/255548
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธนพร โอวาทวรวรัญญู, ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยผู้อำนวยการและนักวิจัยสังคม ประจำศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และ The101.world. (2563, 28 มกราคม). การศึกษาโลกสะท้อนไทย ความเหลื่อมล้ำที่ยังไม่หายไป. สืบค้นจาก The101.world: https://www.the101.world/global-and-thai-education/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). ภาพรวมความเหลื่อมล้ำของไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

นิรมล เสรีสกุล และคณะ. (2564). โครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.).

มานา ปัจฉิมนันท์. (2560). การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมกับการวิจัยด้านการสื่อสารในองค์การ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 15(3), 5-18.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2559). การรวมศูนย์อำนาจและการกระจายอำนาจกับการบริหารราชการแผ่นดินไทย: การทบทวนแนวคิดข้อถกเถียงและข้อพิจารณาเพื่อการปฏิรูป. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 13(1), 98-124.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดที่ 2 โครงสร้างภายนอก ลำดับที่ 4 โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินกับการปกครองท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน. (2560, 29 ธันวาคม). การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/education/news_783532

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญของแผนปฏิรูปประเทศ.

สืบค้นจาก http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2020/12

ภาษาอังกฤษ

Baran, P. (1964). On Distributed Communications. California: The RAND Corporation.

Etzkowitz, H., & Dzisah, J. (2008). Rethinking Development: Circulation in the Triple Helix. Technology Analysis & Strategic Management, 20(6), 653-666.

Gross, R. (2015). Psychology: The Science of Mind and Behaviour. London: Hachette UK.

Hammond, L. D., Austin, K., Orcutt, S., & Rosso, J. (2001). How People Learn: Introduction to Learning Theory. California: Stanford University.

Knight, R. V. (1995). Knowledge-based Development: Policy and Planning Implications for Cities. Urban Studies, 32(2), 225–260.

Liu, W., Sidhu, A., Beacom, A. M., & Valente, T. (2017). Social Network Theory. In P. Rossler, C. A. Hoffner, & L. v. Zoonen, The International Encyclopedia of Media Effects (pp. 1-12). Hoboken: John Wiley & Sons.

Luksha, P., Cubista, J., Laszlo, A., Popovich, M., Ninenko, I., & participants of GEF. (2018). Educational Ecosystems For Societal Transformation. Amersfoort: Global Education Futures Foundation.

Scott, J. (2017). Social Network Analysis. (4th Edition). London: SAGE Publications Ltd.

Silk, M. J., Croft, D. P., Delahay, R. J., Hodgson , D. J., Boots , M., Weber, N., & McDonald, R. A. (2017). Using Social Network Measures in Wildlife Disease Ecology, Epidemiology, and Management. Bioscience, 67(3), 245-257.

The World Bank. (2018). World Development Report 2018: Learning to Realize Education’s Promise. Washington, DC: The World Bank Group.

UNESCO Institute for Lifelong Learning. (2015). UNESCO Global Network of Learning Cities: Guiding Documents. Hamburg: UNESCO Institute for Lifelong Learning (UIL).

Valdes-Cotera, R., Longworth, N., Lunardon, K., Wang, M., Jo, S., & Crowe, S. (2015). Unlocking the Potential: Case Studies of Twelve Learning Cities. Hamburg: UNESCO Institute for Lifelong Learning (UIL).

Wasserman, S., & Faust, K. (1994). Social Network Analysis: Methods and Applications. Cambridge: Cambridge University Press.

WEI, M., SUN, J., & SHI, Y. (2015). Research on the Higher Education Ideas in Ancient Greece and its Modern Values. Cross-Cultural Communication, 11(8), 11-14.

Yigitcanlar, T., & Inkinen, T. (2019). Geographies of Disruption: Place Making for Innovation in the Age of Knowledge Economy. Cham: Springer.