การสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกในการแปลวรรณกรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษา: เรื่อง “กลิ่นฟาง (The Sweet Scent of Hay)” และเรื่อง “หลายชีวิต (Many Lives)”

Main Article Content

ทีฆายุ เดชนราพันธุ์
ปรีมา มัลลิกะมาส

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกในการแปลวรรณกรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ว่าประโยคภาษาไทยที่สื่อมโนทัศน์ดังกล่าวด้วยตัวบ่งชี้กรรมวาจก “ถูก” “โดน” และ “ได้รับ” นั้นมีการถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบใดบ้าง และวิเคราะห์สมมูลภาพในการสื่อมโนทัศน์ดังกล่าว โดยศึกษาจากวรรณกรรมแปล เรื่อง “กลิ่นฟาง (The Sweet Scent of Hay)” และเรื่อง “หลายชีวิต (Many Lives)” ผลการวิจัยพบว่าประโยคกรรมในต้นฉบับภาษาไทยมีการถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักได้แก่ 1) ประโยคกรรม คือ ประโยคที่ใช้โครงสร้าง auxiliary be + past participle และ 2) ประโยคกรรตุ ซึ่งแบ่งตามกลวิธีการแปลได้เป็น 5 ประเภทย่อย  ผลการวิเคราะห์สมมูลภาพในการสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกระหว่างประโยคกรรมในต้นฉบับภาษาไทยและคู่ประโยคแปลภาษาอังกฤษ พบว่ามีรูปแบบทางภาษาที่มีสมมูลภาพในการสื่อมโนทัศน์กรรมวาจก 2 แบบคือ passive sentence และ  past participial phrase ส่วนรูปแบบทางภาษาที่ไม่มีสมมูลภาพในการสื่อมโนทัศน์กรรมวาจก ได้แก่ ประโยคภาษาอังกฤษที่สลับเอาผู้กระทำขึ้นมาเป็นประธานของประโยค หรือใช้คำนาม รวมทั้งการละส่วนที่เป็นกรรมวาจกทิ้งไป และยังพบรูปแบบทางภาษาที่ทั้งรักษาและทำให้ขาดสมมูลภาพในการสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกไป คือ การใช้คำกริยารูปกาลสมบูรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์  สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกกลวิธีในการแปลจากต้นฉบับภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันนั้น  ประกอบด้วยปัจจัยด้านมุมมอง ด้านคำกริยา ด้านผู้แปล และด้านบริบท

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

ทีฆายุ เดชนราพันธุ์

ฑีฆายุ  เดชนราพันธุ์ สำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) และอักษรศาสตร -มหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและการล่าม จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรีมา มัลลิกะมาส

ปรีมา  มัลลิกะมาส ได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทด้านภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

กฤษณา อโศกสิน; วาสนา ชลศึกษ์ เคนแมน แปล. 2536. กลิ่นฟาง The Sweet Scent of Hay. กรุงเทพฯ : ศูนย์การแปล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. 2530. หลายชีวิต. กรุงเทพฯ : สยามรัฐ.

จินดา งามสุทธิ. 2524. ภาษาศาสตร์ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ธัญญรัตน์ ปาณะกุล. 2543. หัวข้อที่น่าสนใจทางภาษาศาสตร์ : ศึกษาเปรียบเทียบหน้าที่ประโยคกรรม “ถูก” ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปฤณา มโนมัยวิบูลย์. 2546. การหลีกเลี่ยงประโยคกรรม 'ถูก' ในเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. 2534. รายงานการวิจัยการวิเคราะห์โครงสร้างความในภาษาไทย : ข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็นในสาขามนุษยศาสตร์. โครงการวิจัยด้วยทุนสนับสนุนการวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลยา วิวัฒน์ศร. 2547. การแปลวรรณกรรม. กรุงเททพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (บรรณาธิการ). 2549. หน่วยสร้างที่มีข้อขัดแย้งในไวยากรณ์ไทย : หน่วยสร้างคุณานุประโยค หน่วยสร้างประโยคเติมเต็ม หน่วยสร้างกริยาเรียง และหน่วยสร้างกรรมวาจก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุปกิตศิลปสาร พระยา. 2524. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

Biber, Douglas. et al. Longman Grammar of Spoken and Written English. Essex: Pearson Education Limited, 1999.

Catford, John Cunnison. A Linguistic Theory of Translation: An Essay in Applied Linguistics. London: Oxford University Press, 1978.

Celce-Murcia, Marianne and Larsen-Freeman, Diane. The Grammar Book: An ESL/EFL Teacher’s Course. Massachusetts: Newbury House Publishers, Inc., 1983.

Kukrit, Pramoj, M.R.; Borthwick, Meredith, translated. Many Lives. Chiang Mai: Silkworm Books, 1996.

Newmark, Peter. About Translation. Clevedon: Multilingual Matters, 1991.

Nida, Eugene A. Language Structure and Translation. California: Stanford University Press, 1975.

Prasithrathsint, Amara. “The Thai Equivalents of the Engish Passives in Formal Writing : A Case Study of Translation on the Target Language.” Working Papers in Linguistics 15, 1. University of Hawai at Manoa, Honolulu, 1983.

Quirk, Randolph et al. A Grammar of Contemporary English. Harlow: Longman Group Limited, 1972.