การใช้ภาพลักษณ์ทางเพศในกวีนิพนธ์ชุด Crow ของ เท็ด ฮิวส์

Main Article Content

ชัยยนต์ ทองสุขแก้ง

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์กวีนิพนธ์ชุด Crow ของเท็ด ฮิวส์ กวีอังกฤษร่วมสมัย งานชุดดังกล่าวเป็นรวมกวีนิพนธ์ที่เรียกได้ว่าเป็น  วรรณกรรมล้อเลียนด้านมืดของมนุษย์ในสังคม โดยหยิบยกเอาลักษณะอันร้ายกาจที่แฝงด้วยความน่าขบขันของอีกามาเป็นประเด็นในการเสียดสีความมืดดำของโลกสมัยปัจจุบัน นอกจากกวีนิพนธ์ชุด Crow จะแสดงออกซึ่งความรุนแรงและการใช้เพศเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความเสื่อมทรามแล้ว กวีนิพนธ์ชุดนี้ยังสะท้อนความวุ่นวาย สับสนและกลโกงของสังคมผ่านการใช้เล่ห์กลของอีกาอีกด้วย ในบทความนี้ได้คัดสรรโคลงในกวีนิพนธ์ชุดนี้มาทั้งหมดเจ็ดโคลงอันได้แก่ “A Childish Prank,” “Crow’s First Lesson,” “Apple Tragedy,” “Snake Hymn,” “Lovesong,” Fragment of An Ancient Tablet” และ “Song for a Phallus” จากการศึกษาพบว่า กวีได้มีการใช้ภาพลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายในการล้อเลียนตำนานการสร้างโลก เรื่องเล่า นิทานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเพศชายและหญิง ภาพลักษณ์ทางเพศดังกล่าวถูกนำเสนอผ่านฉากการสมสู่ การมีเพศสัมพันธ์ การใช้ความรุนแรง การข่มขืน การบรรยายรายละเอียดของอวัยวะเพศชายและหญิง ตลอดจนข้อความอันสื่อถึงปมทางเพศในโคลง

Article Details

Section
Articles
Author Biography

ชัยยนต์ ทองสุขแก้ง

ชัยยนต์ ทองสุขแก้ง จบการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับ1 เหรียญทอง)จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ.2548 แล้วเข้าทำงานที่ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จากนั้นเข้าศึกษาต่อและจบการศึกษาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาษาอังกฤษ (วรรณคดี) จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ.2551 มีความสนใจด้านการสอนภาษาและวรรณคดีอังกฤษ

References

พจี ยุวชิต. “ซิลเวีย แพล็ธ และ เท็ด ฮิวส์จากอีกมุมมอง”. วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ 30

กรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2544

Barry, Peter. Beginning Theory: An Introduction to Literary and Cultural Theory. Manchester: Manchester UP, 2002.

Bold, Alan. Thom Gunn and Ted Hughes. Edinburgh: Oliver and Boyd,

Brandes, Rand. Ted Hughes: Crow A Companion to Twentieth-Century

Poetry. Ed. Neil Roberts. Oxford: Blackwell Publishing, 2003.

Corcoran, Neil. English Poetry since 1940. New York: Longman, 1993.

Crafton, John Michael. “Hughes’s Crow’s First Lesson.” Explicator. Vol 46,

Issue 2 (1998): 32.

Faas, Ekbert. Three Contemporary Poets Thom Gunn, Ted Hughes &

R.S.Thomas. Ed. A.E. Dyson, Hampshire: Macmillan Education Ltd,

Hobby, Teresa Santerre. “Independence Day: Reinforcing Patriarchal Myths

about Gender and Power.” Journal of Popular Culture. 34, no.2, Fall.

: 39-53.

Hoffman, Daniel. “A Review of Crow.” New York Times Book Review,

April 18, 1971 : 6, 35-36.

Hughes, Ted. Crow: From the Life and Songs of the Crow. London: Faber and Faber, 1972.

Thwaite, Anthony. Poetry Today: A Critical Guide to British Poetry. New York: Longman, 1985.

Sagar, Keith. “Ted Hughes.” British Writers. 1987, supp.1 : 341-366.

Shaw, Robert B. Dictionary of Literary Biography, Volume 40: Poets of

Great Britain and Ireland since 1960. A Bruccoli Clark Layman

Book. Ed.Vincent B. Sherry Jr.. Detroit : Gale Research Group, 1985.