กองทุนสวัสดิการชุมชนกับการจัดการตนเองของชุมชน กรณีศึกษากองบุญสัจจะสวัสดิการไทบ้านตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการ ปัจจัยเกื้อหนุนให้กลุ่มคงอยู่และผลการทำกิจกรรมที่นำไปสู่การจัดการตนเองของชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการและสมาชิก จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการกลุ่ม พบว่า จัดตั้งโดยคนในชุมชนที่มีอุดมการณ์ รวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกัน มีผู้นำที่ศรัทธาคือพระสงฆ์ หลักการทำงานยึดมั่นหลักธรรม อปริหานิยธรรม ความมีเมตตา ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ มีสัจจะต่อกัน และกฎกติกา จนนำไปสู่ความรู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน 2) ปัจจัยเกื้อหนุนให้กลุ่มคงอยู่ พบว่า ทุกคนยึดมั่นในเรื่องการช่วยเหลือกัน โปร่งใส ตรวจสอบได้ผ่านเวทีประชุมทุกเดือน เปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และมีการจัดสวัสดิการที่ชัดเจน มีความอิ่มใจที่ได้ช่วยเหลือกันทำให้สมาชิกมีความเชื่อมั่น มีการสรุปผลการดำเนินงานทุกปี 3) ผลของการดำเนินกิจกรรมที่นำไปสู่การจัดการตนเองของชุมชน พบว่า 1) หลักการที่สำคัญคือการพัฒนาคุณภาพชีวิต การยึดมั่นในประโยชน์ส่วนรวม การสร้างความตระหนัก การสร้างความชัดเจนในอุดการณ์ อปริหานิยธรรม และคุณธรรมที่สำคัญคือความซื่อสัตย์ เสียสละ สามัคคี ยึดมั่นในกฎกติกา 2) กลไกของการขับเคลื่อนงาน คือ พระสงฆ์/ผู้นำชุมชน ที่มีความเสียสละ มีอุดมการณ์ในการพัฒนาชุมชน 3) วิธีการในการดำเนินงาน คือการประชุม การสื่อสาร การมีส่วนร่วม และการเรียนรู้ 4) กระบวนการดำเนินงาน คือ การสร้างความเข้าใจในอุดมการณ์ การประชุมร่วมกันและส่งเงินสวัสดิการทุกเดือน การสร้างการมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมและการประชุมสรุปผลการดำเนินงานประจำปี
The purpose of this research was to study management. Supporting factors for group retention and activity outcomes leading to self-management of the community Sample is Committee and 144 members. The tools used were interview, group discussion and observation. The research findings were as follows. 1) The implementation by the local welfare organization was stable in terms of its membership and development guidance. It was found that it was essential to build more understanding in ideology of the local welfare, to accept more members to participate in various activities and to inform the committee and members of the information. 2) As for human funds, social institution funds and local wisdom and cultural funds, it was found that they were in decline thanks to the influence of globalization and consumerism. 3) As regards the process of building and restoring social funds to strengthen local welfare, the fourfold noble truths of Buddhism and a participatory meeting technique were used. It was found that the processes of building and restoring social funds are as follows: 1) studying the states of local welfare implementation, 2) exploring existing social funds in Tambon, 3) holding a meeting to plan a creative participation in order to launch an awareness in the local fund members, 4) implementing the planned activities based on a participatory meeting, Potential of locals was developed to drive the building process in a continuous manner. The present research had conducted a process of building and restoring social funds in light of human aspects, social institutions and wisdom and cultures. All these played an important contributing part in making the local welfare and communal development strong and self-reliant in a sustainable way.
Article Details
References
ชนินทร์ วะสีนนท์. (2549). การจัดการสวัสดิการชุมชนของเครือข่ายอินแปง : กลไก กระบวนการจัดการตนเอง. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เดวิท แมทิวส์. (2540). จากปัจเจกสู่สาธารณะ : กระบวนการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง. แปลโดย ฐิรวุฒิ เสนาคำ. กรุงเทพฯ : สถาบันชุนชนท้องถิ่นพัฒนา.
ทวีศักดิ์ วินิจศร. (2550). สภาพการดำเนินงานและแนวทางการพัฒนาการจัดการกองทุนชุมชน ของหน่วยทหารในกองทัพภาคที่ 3. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคณะ. (2534). การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
นริศรินทร พันธเพชร. (2554). ความสำเร็จของกองทุนสวัสดิการชุมชน : กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนของโรงสีชมรมรักษ์ธรรมชาตินาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ระพีพรรณ คำหอม. (2545). สวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: อารยัน มีเดีย.