การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนแบบสแกฟโฟลด์ที่ส่งเสริมจิตลักษณะ ฉันทะ และความสามารถในการเขียนบทความเชิงวิชาการของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์
Abstract
Research and Development of a Scaffolding Instructional Model Promoting Students’ Psychological Characteristics, Chanda and Academic Writing Ability at the Institute of Physical Education Phetchabun
Received: May 2, 2013 Accepted: May 15, 2013
Abstract
The purposes of this research were to compare effects of Scaffolding instructional model
in promoting psychological characteristics (self efficacy, good attitude towards writing and achievement motivation), Chanda and academic article writing ability. Eighty students from two classrooms were randomly assigned to experimental group and control group. The experimental group participated in Scaffolding instruction program, whereas the control group received usual instruction program. After the experiment, half of the experimental group enrolled writing environment in Palasuksa-klasuesaan club, another half joined other clubs irrelevant to academic writing. Five tests were utilized through repeated longitudinal measurements. The measurements were conducted on baseline, after the scaffolding instructional program and three months after completing the scaffolding instructional program. MANCOVA, two-way ANOVA for repeated measures and piecewise latent growth curve analysis were used to test the effectiveness of Scaffolding instructional model.
Results showed that the experimental group had significantly higher scores on overall psychological characteristics, Chanda and academic article writing ability than the control group did. The experimental group also had higher psychological characteristics, Chanda and academic article writing ability than the control group after completing the scaffolding instructional program and three months later. This longitudinal study also indicated that good attitude towards writing was increased, academic writing ability and Chanda were stable after Scaffolding treatment in Palasuksa-klasuesaan club during the following up period. As for piecewise latent growth curve analysis, the best fitting model showed a significant positive treatment slope and negative post-treatment slope. Moreover, academic article writing ability of the students who participated in the writing club decreased slower than that o f the students in the other clubs during the post-treatment.
Keywords: Psychological characteristics, Chanda, Scaffolding instructional model, Academic article writing ability
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบการสอนแบบ สแกฟโฟลด์ที่ส่งเสริมจิตลักษณะ ฉันทะ และความสามารถในการเขียนบทความเชิงวิชาการของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จาก 2 ห้องเรียนๆ ละ 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งใช้รูปแบบการสอนแบบสแกฟโฟลด์ 1 ห้องเรียน และกลุ่มควบคุมที่ใช้รูปแบบการสอนปกติ 1 ห้องเรียน หลังจากสิ้นสุดการสอนแบบสแกฟโฟลด์แล้ว นักศึกษากลุ่มทดลองครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกชมรม พลศึกษากล้าสื่อสาร ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเขียนอย่างต่อเนื่อง อีกครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกชมรมอื่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม 5 ฉบับ เก็บข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และสิ้นสุดการติดตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ตัวแปรแฝงโค้งพัฒนาการ
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ใช้รูปแบบการสอนแบบสแกฟโฟลด์มีค่าเฉลี่ยจิตลักษณะ ฉันทะ และความสามารถในการเขียนบทความเชิงวิชาการสูงกว่ากลุ่มควบคุมทุกตัวแปรหลังการทดลอง และตลอดเวลา 3 เดือน ในระยะติดตามผลด้านผลการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเขียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยกิจกรรมชมรมพลศึกษากล้าสื่อสารที่มีต่อผลความสามารถของนักศึกษาที่เรียนรู้ด้วยวิธีการแบบสแกฟโฟลด์ในระยะติดตามผลนั้น ปรากฏว่า นักศึกษาชมรมพลศึกษากล้าสื่อสารมีค่าเฉลี่ยเจตคติที่ดีต่อการเขียนเชิงวิชาการสูงขึ้น และมีความคงทนของความสามารถในการเขียนบทความเชิงวิชาการกับฉันทะในการเขียน ส่วนผลการศึกษาความเปลี่ยนแปลงความ สามารถในการเขียนบทความเชิงวิชาการด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองตัวแปรแฝงโค้งพัฒนาการ แสดงให้เห็นว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบสแกฟโฟลด์ มีความสามารถในการเขียนบทความเชิงวิชาการเพิ่มขึ้นในระยะทดลอง แต่อัตราพัฒนาการลดลงในระยะติดตามผล สำหรับผลการวิเคราะห์แบบจำลองโค้งพัฒนาการของกลุ่มชมรม พบว่า นักศึกษาที่เข้าร่วมชมรมพลศึกษากล้าสื่อสาร มีอัตราการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเขียนบทความเชิงวิชาการทางบวกในระยะติดตามผลสูงกว่านักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมชมรมอื่น
คำสำคัญ: จิตลักษณะ ฉันทะ รูปแบบการสอนแบบสแกฟโฟลด์ การเขียนบทความเชิงวิชาการ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600