ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น

Authors

  • ณัฐวุธ แก้วสุทธา
  • อังศินันท์ อินทรกำแหง
  • พัชรี ดวงจันทร์

Abstract

The Causal Factors of Oral Health Care Behavior of Early Adolescents

Received: July  1, 2013                   Accepted: July 5, 2012

Abstract

Tooth decay and gum diseases among early adolescents remain an a first important oral health problem. Despite the public oral health services system improvement in, both public and private sectors as well as biomedical and technological advancements in treatment and dental care, still challenge the dentists as social determinants and behavioral factors of oral health care are overlooked. This article reviewed the literature on behavioral factors of oral health care behavior among early adolescents. The literature reveal that knowledge in oral hygiene and oral diseases, attitude toward oral health care, perceived threatened diseases, cues to actions, and behavioral modification factors in oral health care behavior has positive impact on oral health care behavior of early adolescents.  To solve and reduce oral health impacts in early adolescence, dentists should emphasize on behavioral modification of oral health care by reducing the influence of negative causal factors and increasing motivational factors.  Moreover, the behavioral research should be applied to explore the effective and appropriate solutions in changing early adolescents' oral care behavior.

Keyword: The causal factor, Oral health care behavior, Early adolescents

บทคัดย่อ

ปัญหาโรคฟันผุและเหงือกอักเสบในวัยรุ่นตอนต้นยังคงเป็นปัญหาทางทันตสุขภาพที่มีความสำคัญอันดับแรกซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของระบบการบริการทางทันตสาธารณสุข การขยายระบบบริการทั้งในภาครัฐและเอกชน หรือการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทางทันตกรรมในการบำบัดและรักษาฟื้นฟูสภาพในช่องปาก ก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาทันตสุขภาพดังกล่าวลดน้อยลง ทั้งนี้ เนื่องจากศาสตร์การดูแลทันตสุขภาพเท่าที่ผ่านมามักจะเน้นเฉพาะศาสตร์ทางชีวภาพเป็นส่วนใหญ่ โดยมิได้สนใจศึกษาทำความเข้าใจปัจจัยทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ทั้งที่ปัจจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากมาก ซึ่งบทความนี้เป็นการประมวลงานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากในวัยรุ่นตอนต้น ผลการประมวลงานวิจัยปรากฏข้อค้นพบว่า ความรู้เรื่องโรคและอนามัยช่องปาก เจตคติที่ดีต่อการดูแลอนามัยช่องปาก การรับรู้ต่อภาวะคุกคามของโรคสิ่งจูงใจให้ปฏิบัติ และปัจจัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากในวัยรุ่นตอนต้น ดังนั้น การจะแก้ปัญหาและลดผลกระทบทางสุขภาพดังกล่าว จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการลดอิทธิผลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ขัดขวางพฤติกรรม และเพิ่มความเข้มแข็งให้ปัจจัยทางจิตบางประการ โดยควรมีการวิจัยเชิงลึกเพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้นที่มีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ: ปัจจัยเชิงสาเหตุ พฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก วัยรุ่นตอนต้น ทันตสุขภาพ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


Author Biographies

ณัฐวุธ แก้วสุทธา

Graduate Student, Doctoral degree in Applied Behavioral Science Research, Srinakharinwirot

University and Lecturer at Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University

e-mail: [email protected], Tel. 668-5163-8780

อังศินันท์ อินทรกำแหง

Associate Professor in Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University

พัชรี ดวงจันทร์

Lecturer in Department of Clinical and Social Pharmacy, Faculty of Pharmacy,Srinakharinwirot University

Downloads

Published

2013-08-04

How to Cite

แก้วสุทธา ณ., อินทรกำแหง อ., & ดวงจันทร์ พ. (2013). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. The Periodical of Behavioral Science, 19(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/10738