โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลพหุระดับของพลังจูงใจในการทำงาน ของบุคลากรป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Keywords:
การรับรู้การเมืองในองค์การ, ทักษะทางการเมือง, ภาวะผู้นำ, ความยึดมั่นผูกพันในงานAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจระดับการวิเคราะห์ตัวแปรระดับทีมของตัวแปรบรรยากาศเสริมสร้างพลังอำนาจของทีม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมุ่งเน้นทีม พลังจูงใจในการทำงานของทีมและทดสอบแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลพหุระดับของพลังจูงใจในการทำงานที่มีต่อประสิทธิผลของทีมปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ความตั้งใจคงอยู่ในงาน และสมรรถนะบุคลากรป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ปฏิบัติงานประจำสถานีดับเพลิงและกู้ภัย จำนวน 600 คน 120 ทีม ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวัดในการวิจัยคือแบบสอบถามโดยหัวหน้าทีมและบุคลากรป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้ประเมิน ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบความเที่ยงตรงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยันยัน วิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าความเชื่อมั่นในการวัดตัวแปรแฝง และผ่านการตรวจสอบคุณภาพการวัดตัวแปรระดับทีมด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยันยันแบบพหุระดับ ตรวจสอบความสอดคล้องความเชื่อมั่นสำหรับคะแนนของสมาชิกและวิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้างสมการพหุระดับ ผลพบว่าแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลพหุระดับของพลังจูงใจในการทำงานระดับบุคคลและระดับทีมมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x 2 = 194.159, df=7, CFI =.950, TLI = .929, RMSEA = .055) เมื่อพิจารณาตัวแปรเชิงสาเหตุระดับทีม พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมุ่งเน้นทีมมีอิทธิพลทางตรงต่อพลังจูงใจในการทำงานของทีมและมีอิทธิพลข้ามระดับทางตรงและทางอ้อมต่อพลังจูงใจในการทำงาน และพบว่าพลังจูงใจในการทำงานของทีมมีอิทธิข้ามระดับต่อพลังจูงใจในการทำงานของบุคคลโดยเป็นอิทธิพลข้ามระดับทางตรงทั้งหมด ตัวแปรเชิงเหตุระดับบุคคลพบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมุ่งเน้นบุคคล การแลกเปลี่ยนระหว่างทีมกับบุคลากรป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพลังจูงใจในการทำงานของบุคคล
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600