รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SANTISUK เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะพึงประสงค์ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้(The SANTISUK Experiential Learning Model for Enhancementof Desirable Characteristic of Living to

Authors

  • Chiraphorn Munsettavith Doctoral degree holders, Early Childhood Education Department, Faculty of Education, Srinakharinwirot University. e-mail: [email protected]. Tel. 086-491-6294
  • Sirima Pinyoanuntapong
  • Srisompob Jitpiromsri Assistance Professor, Faculty of Political Science, Prince of Songkla University, Pattani Campus.
  • Numchai Suppalerkchaisakun Lecturer, Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University.

Abstract

This research aimed to develop and test the effectiveness as well as extend the model of organizing SANTISUK learning experience to enhance the desirable characteristics of living  together with peace as appropriate for preschoolers in three southern border provinces. The SANTISUK learning experience model consisted of 8 steps. The first step was Share ideas together: S. The second step was Assure agreement together: A. The third step was New experiences network organize together: N. The fourth step was Take action together: T. The fifth step was Identify problems for solving together: I. The sixth step was Share cultural understanding together: S. The seventh step was Unite together in diversity: U. The eight step was Knowledge management broadcast together: K. The above model has been employed for 10 weeks during the second semester of 2011 academic year. The schools which participated in this project were one school from Yala, one from Pattani and one from Narathiwat. A sample group was composed of 189 preschoolers who were 1) 91 preschoolers level 1 (4 years old); and 2) 98 preschoolers level 2 (5 years old), 3) A sample group who employed and evaluated the model consisted of 6 administrators, 6 preschool teachers and 6 teacher students, 4) A sample group of guardians comprised 77 guardians; 5) A sample group who extended the employment of the model was 155 preschool teachers and the students majoring in Early Childhood Program in three southern border provinces. The results were as follows. While employing the model and after the employment, every group of preschoolers possessed 5 aspects of desirable characteristics of living together with peace and happiness which were self-sufficiency, being able to forgive, being friendly, tolerant. Their desirable characteristics were higher than before employing the model at a statistically significant level of .05. The evaluation of the appropriateness and possibility to employ and extend the SANTISUK Learning Experience model was reviewed to be at very good level.

Keywords: model, preschoolers, desirable Characteristic of Living Together with Peace and Happiness, Three Southern Border Provinces of Thailand

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการพัฒนาทดสอบประสิทธิผลและขยายผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SANTISUK เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะพึงประสงค์ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขให้กับเด็กปฐมวัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้มี 8 ขั้นได้แก่ ขั้นที่ 1 ร่วมแสดงความคิดเห็น ขั้นที่ 2 ร่วมยืนยันจุดมุ่งหมาย ขั้นที่ 3 ร่วมสร้างเครือข่ายประสบการณ์ใหม่ ขั้นที่ 4 ร่วมลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 5 ร่วมพิจารณาแก้ไขปัญหา ขั้นที่ 6 ร่วมแลกเปลี่ยนความเข้าใจทางวัฒนธรรม ขั้นที่ 7 ร่วมสร้างความกลมเกลียวในความหลากหลาย และขั้นที่ 8 ร่วมขยายความรู้ด้วยการจัดการ ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นเป็นเวลา 10 สัปดาห์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 กับโรงเรียนร่วมปฏิบัติการวิจัย จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จังหวัดละ 1 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัย ระดับชั้นปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) จำนวน  91 คน และระดับปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 5 ปี) จำนวน 98 คน รวมทั้งสิ้น 189 คน 2) กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้ และประเมินการนำรูปแบบฯ ไปใช้ เป็นผู้บริหาร จำนวน 6 คน ครูปฐมวัย จำนวน 6 คน และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 6 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 77 คน และ 4) กลุ่มตัวอย่างขยายผลการใช้รูปแบบฯ เป็นครูปฐมวัยและนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 155 คน ผลการวิจัยพบว่า ขณะทดลองและภายหลังการทดลองเด็กปฐมวัยทุกกลุ่มทดลองมีคุณลักษณะพึงประสงค์ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข อันประกอบไปด้วย ด้านที่ 1 มีความพอเพียงในตนเอง ด้านที่ 2 รู้อภัย ด้านที่ 3 มีมิตรไมตรี ด้านที่ 4      มีความอดกลั้น และด้านที่ 5 เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ   ทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินความเหมาะสมเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SANTISUK ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ และขยายผลต่อไปอยู่ในระดับดีมาก

คำสำคัญ รูปแบบ เด็กปฐมวัย คุณลักษณะพึงประสงค์ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

Downloads

Published

2013-01-21

How to Cite

Munsettavith, C., Pinyoanuntapong, S., Jitpiromsri, S., & Suppalerkchaisakun, N. (2013). รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SANTISUK เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะพึงประสงค์ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้(The SANTISUK Experiential Learning Model for Enhancementof Desirable Characteristic of Living to. The Periodical of Behavioral Science, 19(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/5016