ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงทางจิตและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงหลังได้รับโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ และพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมของเด็กที่เป็นโรคอ้วนโรงพยาบาลหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร(Results of Changes in Psychological and Behavioral after the)

Authors

  • Jiraporn Chomboon Graduate Student, Doctoral degree in Applied Behavioral Science Research, Srinakharinwirot University. e-mail: jirafriends@gmail.com. Tel.: 089-677-4646
  • Dusadee Yoelao Association professor in Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University
  • Chittiwat Suprasongsin Association Professor in Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University
  • Patcharee Duangchan Lecturer in Faculty of Pharmacy,Srinakharinwirot University

Abstract

The aim of this experimental research was to determine changes in psychological and behavioral variables after the implementation of behavioral intervention as well as those between intervention and control groups. This experimental design was pretest-posttest control group design and ABF control group design. The samples were 26 children aged 10-13 years old at Hua Chiew Hospital, which 14 of those were assigned to the intervention group, and other12 were assigned       to the control group. The intervention group was treated with behavioral intervention program  consisted two activities of 1) Activity to educate on fundamental knowledge of obesity, nutrition and exercise, and cultivate the attitude towards the behaviors through the eight sub-activities, and 2) Activity to shape healthy eating behavior and proper physical activity behavior by using the process of self-control within 5 weeks time. The control group received regular program from hospital, and make self record about eating and exercise in daily life. This experimental design was pretest-posttest control group design and ABF control group design was applied. Data were mainly by Two-way MANOVA with Repeated Measures. The results showed that the intervention group has positively significant increased knowledge about obesity, attitude towards healthy eating behavior and attitude towards physical activity after the program, and more than the control group. More over, after the intervention program the statistically significant results showed that the healthy eating and proper physical activity behavior than before entering the program but it was not significant different from the control group.

Keywords: Behavioral Intervention Program, Obesity, Healthy eating, Physical activity behavior

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางจิต และตัวแปรทางพฤติกรรม ของกลุ่มตัวอย่าง ภายหลังการใช้การเปรียบเทียบพฤติกรรมระหว่างกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคอ้วน แผนกคลินิกเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร จำนวน 26 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 14 คนและกลุ่มควบคุมจำนวน 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ 1) การให้ความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายและการสร้างเจตคติต่อพฤติกรรมจำนวน 1 ครั้ง มี 8 กิจกรรมย่อย และ 2) การใช้กระบวนการควบคุมตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและการออกกำลังกายที่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน จำนวนทั้งหมด 5 สัปดาห์ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมปกติจากโรงพยาบาลและทำการบันทึกการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลอง Pretest-Posttest control group design และ ABF และมีกลุ่มควบคุม (ABF control group design) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way MANOVA with repeated measures) และนำเสนอข้อมูลแนวโน้มพฤติกรรมของเด็กกลุ่มทดลองโดยใช้กราฟเส้น ผลศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง 1) ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน เจตคติต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและเจตคติต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ และพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมของกลุ่มทดลองหลังจากได้รับโปรแกรมฯ ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ: โปรแกรมปรับพฤติกรรมศาสตร์ เด็กอ้วน การบริโภคถูกสุขลักษณะ พฤติกรรมการออกกำลังกาย

 

Downloads

Published

2013-01-21

How to Cite

Chomboon, J., Yoelao, D., Suprasongsin, C., & Duangchan, P. (2013). ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงทางจิตและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงหลังได้รับโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ และพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมของเด็กที่เป็นโรคอ้วนโรงพยาบาลหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร(Results of Changes in Psychological and Behavioral after the). The Periodical of Behavioral Science, 19(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/5017