การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูโดยการวิเคราะห์โมเดลแข่งขัน(Confirmatory Factor Analysis of Teachers’ Research Engagement by the Competing Model Analysis)

Authors

  • Ujsara Prasertsin Ph.D. Candidate in the Educational Research Methodology Program at the Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University. e-mail: [email protected]. Tel.: 081-554-6241
  • Suwimon Wongwanich Professor at the Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University
  • Nonglak Wiratchai Professor at the Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University

Abstract

The purpose of this research was to analyze the confirmatory factors of teachers’ research engagement by the competing model analysis. The competing model analysis of teachers subordinated to the following 3 educational departments: Department of Education Bangkok Metropolitan Administration, Office of The Basic Education Commission, and Office of the Private Education Commission. Two-stage sampling method was applied in this research on 965 participants. Data collection was conducted through teachers’ research engagement measure of 32 questions. The questions were classified into 7 levels and 12 sub indicators. The result of teachers’ research engagement model showed that teachers’ research behaviors were latent variables and work engagement were observed variables. The analysis result revealed to =39.418, df=29, p=0.094, RMSEA=0.019, RMR=0.011, GFI= 0.993, AGFI=0.982. For the competing teachers’ research engagement model that  work engagement were latent variables and teachers’ research behaviors were observed variables the analysis resulted to =17.860, df=10, p=0.057, RMSEA=0.029, RMR=0.010, GFI= 0.997, AGFI=0.976. This research result clearly showed that the second model was better than the first model.

Keywords: Confirmatory factor analysis, Research engagement, Competing model

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครู โดย การวิเคราะห์โมเดลแข่งขัน และทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูทั้ง 3 สังกัด ได้แก่ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) จำนวน 965 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูแบบ 7 ระดับ ประกอบด้วย 12 ตัวบ่งชี้ย่อย รวม 32 ข้อ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดคุณลักษณะความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูแบบที่ให้พฤติกรรมการวิจัยเป็นตัวแปรแฝงและลักษณะความยึดมั่นผูกพันเป็นตัวแปรสังเกตได้ มีความสอดคล้องกลมกลืน   กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( =39.418, df=29, p=0.094, RMSEA=0.019, RMR=0.011, GFI= 0.993, AGFI=0.982)  โมเดลการวัดคุณลักษณะความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูแบบที่ให้ลักษณะความยึดมั่นผูกพันเป็นตัวแปรแฝง และพฤติกรรมการวิจัยเป็นตัวแปรสังเกตได้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( =17.860, df=10, p=0.057, RMSEA=0.029, RMR=0.010, GFI= 0.997, AGFI=0.976) จากผลการวิเคราะห์ทั้งสองโมเดล จะเห็นได้ว่า โมเดลที่สองเป็นโมเดลที่มีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลมากกว่าโมเดลแรก

คำสำคัญ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัย โมเดลแข่งขัน

 

Published

2013-01-21

How to Cite

Prasertsin, U., Wongwanich, S., & Wiratchai, N. (2013). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูโดยการวิเคราะห์โมเดลแข่งขัน(Confirmatory Factor Analysis of Teachers’ Research Engagement by the Competing Model Analysis). The Periodical of Behavioral Science, 19(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/5018