การสังเคราะห์ชุดความรู้ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาของชุมชน(Synthesis of Local Knowledge Sets for the Promotion of Community Education)
Abstract
The objectives of this dissertation were: 1) to synthesize the local knowledge sets from all related research documents in various dimensions; 2) to synthesize the local knowledge sets from case studies; 3) to study the process of local knowledge sets implementation in learning provision for promoting community education, including the related condition factors of community in the process of learning provision about local contents; and 4) to propose the promoting guidelines on learning provision about local contents which would be part of the further community education promotion. By means of research methods: 1) Research Synthesis 2) Sampling Case Studies by Historical Methodology 3) Conducting the Participatory Action Research (PAR). The study result found that 1) local knowledge from the research synthesis were: knowledge contents related to the local history dimension, the culture and way of life dimension, the economy dimension, the society dimension, the resources management dimension, and the value and local wisdom dimension; 2) local knowledge sets from case studies found the identity knowledge such as Baan Uuem history, toponymy and village history, Baan Uuem history in eras: pre-developmental age(cart age), train age, local traditions, and the value and local wisdom of Baan Uuem; 3) the process of local knowledge sets implementation in learning provision; 4) the related condition factors in learning process about local contents; and 5) the promoting guidelines on learning provision about local contents for the community education promotion.
Keyword: Synthesis, Local Knowledge, Community Education
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ชุดความรู้ท้องถิ่นจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในมิติต่างๆ 2) สังเคราะห์ชุดความรู้ท้องถิ่นจากกรณีศึกษา 3) ศึกษากระบวนการนำชุดความรู้ท้องถิ่นไปจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาของชุมชนรวมถึงปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องของชุมชนในกระบวนการจัดการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่น และ 4) เสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่นที่จะมีส่วนส่งเสริมการศึกษาของชุมชนต่อไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย 1) การสังเคราะห์งานวิจัย 2) การศึกษากรณีตัวอย่างโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรู้ท้องถิ่นจากการสังเคราะห์งานวิจัย ได้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับ มิติประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มิติวัฒนธรรม วิถีชีวิต มิติเศรษฐกิจเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติคุณค่าและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ชุดความรู้ท้องถิ่น จากกรณีศึกษา พบว่า มีองค์ความรู้ที่เป็นอัตลักษณ์ ได้แก่ ประวัติศาสตร์บ้านเอื้อม ภูมินามและประวัติศาสตร์หมู่บ้าน ประวัติศาสตร์บ้านเอื้อมแต่ละยุคก่อนการพัฒนา (ยุคเกวียน) ยุครถไฟ ประเพณีท้องถิ่น คุณค่าและภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านเอื้อม 3) กระบวนนำชุดความรู้ท้องถิ่นไปจัดการเรียนรู้ 4) ปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่น และ 5) แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาของชุมชน
คำสำคัญ: การสังเคราะห์งานวิจัย ความรู้ท้องถิ่น การศึกษาของชุมชน บ้านเอื้อม
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600