การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมสามัคคีธรรมของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด

Authors

  • ANAN YAEMYUEAN

Abstract

Research for Development and Validation Harmonic Behavior Scales of Senior High School and Measurement Invariance

The purposes of this research aim, to study exploratory factor Analysis, to study confirmatory Analysis and to study measurement invariance. By Multistage quota random sampling method was employed to obtain samples. The samples were seniors high school which was divided into two groups, as follows. 1) The first group was employed for item quality and exploratory factor analysis, consisting of 300 students. 2) The second group was for confirmatory factor analysis and measurement invariance, consisting of 300 students.

The research findings were as follows: There were three emerging factors with the total of 18 items, namely, 1) tracking for development (6 items) 2) responsibility (4 items), make a profit (4 items) and 4) planning and sharing (4 items), which explained the variance of this construct for 56.72%. Second-order confirmatory factor analysis was computed using the second group of data which indicated a model fit. The reliability of this scale was 0.82. The measurement invariance in terms of pattern and factor loading was found in students with different sex.

 Keyword: Factor Analysis, Measurement Invariance, Harmonic Behavior, Student

งานวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมสามัคคีธรรม มีจุดประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ           1) แสวงหาองค์ประกอบของแบบวัด 2) วิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบของแบบวัด และ 3) ศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด โดยทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบหลายขั้นตอนกำหนดโควต้า (Multistage Quota Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) จำนวน 300 คน 2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และทำการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด จำนวน 300 คน

ผลการวิเคราะห์พบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่        1) การติดตามเพื่อพัฒนา จำนวน 6 ข้อ 2) ความรับผิดชอบ จำนวน 4 ข้อ 3) การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม จำนวน        4 ข้อ และ 4) การวางแผนและร่วมกันทำ จำนวน 4 ข้อ รวมทั้งสิ้น 18 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 56.72 เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพบว่าแบบวัดนี้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ปรากฏโดยสรุปว่า ไม่พบความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดในเชิงรูปแบบโมเดล (Form) และความไม่แปรเปลี่ยนของน้ำหนักองค์ประกอบ (LY) ตามเพศของนักเรียน 

คำสำคัญ: การวิเคราะห์องค์ประกอบ ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด พฤติกรรมสามัคคีธรรม นักเรียน


Downloads

Published

2017-09-13

How to Cite

YAEMYUEAN, A. (2017). การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมสามัคคีธรรมของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด. The Periodical of Behavioral Science, 23(2), 139–166. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/92331