การประยุกต์ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ 3) ประยุกต์ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 4) ประเมินผลและปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชลบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 40 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยและพัฒนาแบบแผนการทดลอง คือ One Group Pretest Posttest Design ใช้เวลาในการฝึกอบรม 4 วัน 3 คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการเข้ากิจกรรม แบบประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรม แบบประเมินด้านทักษะและพฤติกรรมการทำโครงงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า กิจกรรมเน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีกิจกรรมหลากหลายมีวิธีการวัดผลและประเมินผลที่ชัดเจนพร้อมสื่อที่ทันสมัย
2) ผลการจัดทำกิจกรรม ประกอบด้วย เนื้อหากิจกรรม จำนวน 6 หน่วย ได้แก่ 1) แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2) หลักการ FAILA Model 3) พื้นฐานความรู้การประดิษฐ์คิดค้น 4) ฝึกปฏิบัติงานตามโครงงาน 5) นำเสนอผลการปฏิบัติงาน (Show and Share) และ 6) ประเมินผลการเรียนรู้
3) ผลการประยุกต์ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานกับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 40 คน พบว่านักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความสนใจ ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมโครงงาน
4) ผลการประเมินกิจกรรม พบว่า ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 การประเมินตนเองภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มีความรู้มาก ความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมเห็นด้วยมาก การประเมินด้านทักษะอยู่ในระดับมาก และการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับดี
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
2. นิศา แซ่เอี้ยว. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหาและเจตนคติที่มีต่อวิชาการส่งเสริมการขาย ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป.
4. สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 20 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
5. Benton, Ben. (2010). Superintendent praises roject-based learning. J. MeClatch-Tribune Business news. 2(2) : 89-114.
6. Campbell, L.C. (2004). Teaching and learning through multiple intelligences. (3rd ed.). New York: Pearson Education.
7. Carnevale, A.P., Gainer, L.J. & Meltzer, A.S. (1990). Workplace basics training manual. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
8. McDowell, Michael. (2009). Group leadership in the project-based learning classroom. Docteral Dissertation University of La Vern.
9. Wexley, K.N. & Latham, G.P. (1991). Developing and training human resources in organizations. (2nd ed.). New York: Harper Collins.