การพัฒนาชุดทดลองวงจรมัลติมิเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง

Main Article Content

ฤกษ์ชัย ศรีสมบัติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย  1)  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดทดลองวงจรมัลติมิเตอร์  สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง  2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนที่ใช้ชุดทดลองวงจรมัลติมิเตอร์กับนักเรียนที่เรียนแบบปกติ  และ  3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดทดลองวงจรมัลติมิเตอร์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ชั้นปีที่  1  วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2562  จำนวน  36  คน  ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม  (Cluster  Random  Sampling)  ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง  4  สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  1)  ชุดทดลองวงจรมัลติมิเตอร์  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จำนวน  40  ข้อ  ค่าความยากง่ายเท่ากับ  0.32–0.78  ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ  0.26-0.67  ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.89  และ  3)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดทดลอง  ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.91  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่า  t-test  Independent  ผลการวิจัยพบว่า  1)  ชุดทดลองวงจรมัลติมิเตอร์  มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ  85.69/83.47  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  80/80  ชุดทดลองวงจรมัลติมิเตอร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้  2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดทดลองสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  และ  3)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดทดลองอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556, มกราคม-มิถุนายน). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5, (1), หน้า 7-20.

ณรงค์ ชอนตะวัน. (2556). เครื่องวัดไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ.

ณัฏฐชัย คุณุกุลเดช, สุรชัย สุขสกุลชัย และวชิรพรรณ แก้วประพันธ์. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาชุดทดลองแบบปฏิสัมพันธ์เรื่องวงจรบริดจ์กระแสตรง. วิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 8, (1), หน้า 125-135.

ประภาพรรณ เส็งวงค์. (2551). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการวิจัยในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อี.เค.บุ๊คส์.

พงศ์เทพ จิระโร. (2559). หลักการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ชลบุรี: บัณฑิตเอกสาร.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2553). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนครูทุกคนทำได้ไม่ยาก. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: เฮ้าท์ออฟเคอร์มิส.

มงคล ธุระ. (2559). เครื่องวัดไฟฟ้า (ภาคปฏิบัติ).กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.

มนตรี เชิญทอง. (2562). เครื่องวัดไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือเมืองไทย.

วิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์. (2558, กรกฎาคม-ธันวาคม). การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์วิชาวงจรไฟฟ้ากระแสตรง. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 5, (2), หน้า 11-25.

สุระไกร เทพเดช, สมาน เอกพิมพ์, และสมบัติ ฤทธิเดช. (2558, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาชุดฝึกทักษะ เรื่อง การใช้มัลติมิเตอร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2. การบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7, (1), หน้า 174-182.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Larry D.Jones; A.Foster Chin. (1991). Second Edition. Electronic Instrument and Measurement. New Jersey: Prentice-Hall.