ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก

Main Article Content

อขนิษฐ เครืออนันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต  ศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียน  ที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต  และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงวิทยาลัยเทคนิคใน ภาคตะวันออก  กลุ่มตัวอย่าง  คือ  นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  วิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก  จำนวน  392  คน  ปีการศึกษา  2559เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต  โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตอนที่  2  =  .742  และตอนที่  3  =  .941  ผลจากการวิจัยพบว่า   


     1)   นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  วิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออกมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


     2)   นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  วิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก  มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต  ด้านนักเรียนเป็นอันดับแรก


     3)   ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  วิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก  ประกอบด้วย  4  ปัจจัย  คือ  1)  ปัจจัยด้านสังคม  (X3)  2)  ปัจจัยด้านนักเรียน(X1)  3)  ปัจจัยด้านครอบครัว  (X2)  และ  4)  ปัจจัยด้านสถานศึกษา  (X4)  และปัจจัยทั้ง  4  สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตได้ร้อยละ  30.20  เขียนเป็นสมการคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้  ดังนี้


     Y'  =  1.595  +  .454(X3)  +  .139(X1)  -  .062(X2)  +  .074(X4)


     Z'  =  .417(Z3)  +  .256(Z1)  -  .145(Z2)  +  .097(Z4)

Article Details

How to Cite
เครืออนันต์ อ. (2017). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 1(2), 34–42. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/246461
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เกษมณี. (2549). ความคาดหวังและผู้ปกครองต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ของนักเรียนระดับชั้นมัธยาศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุไรวรรณ รักสมยา. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมและความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพอาชีวศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2548). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: หลักพิมพ์.

ชาติเชื้อ หล้าดา. (2552). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เนติมา กมลเลิศ. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนในเครือคณะเซนต์คาเบรียล เขตกรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. พรทิพย์ รุ่มนุ่ม. (2550). ปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2553). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ยืน ภู่วรวรรณ สมชาย นำประเสริฐชัย. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ยูเคชั่น.

รัตติยา วานิชกลาง . (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2546). มูลนิธิเครือข่ายครอบครัวและศูนย์ประชามติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สารัชต์ วิเศษหลง. (2549). สภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. รายงานการศึกษาอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

สุจินตนา น้อยทรัพย์. (2546). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาเขตส่วนกลาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อมรพงษ์ ราชะพริ้ง. (2547). การใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาครุสาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. อำนวย ต้องมิตร. (2552). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเชิงเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระหดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.